การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวัดและชุมชน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาศักยภาพด้านการเมืองในการบริหารจัดการของวัดและชุมชน 3) การพัฒนาศักยภาพทางด้านสังคมที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม จารีต ขนบธรรมเนียมและประเพณี 4) การพัฒนาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักคุณค่าและอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เป็นการสร้างรายได้แก่ชุมชม และเผยแพร่คุณค่า เอกลักษณ์ของชุมชนให้ประจักษ์แก่สาธารชนได้รับรู้และเรียนรู้ นอกจากนั้น ผลจากการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนาเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้/วิถีชีวิตชุมชนดีขึ้น และเป็นการตอบสนองความต้องการชุมชนในการฟื้นฟูความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของวัดและชุมชนในล้านนา ดังนี้ 1) ทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพของวัดและชุมชนในล้านนานั้นจะต้องมีแหล่งท่องเที่ยวต่างที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ความงดงาม/ภูมิทัศน์ การอนุรักษ์และการบริการ/ความสะดวก/ความปลอดภัย 2) บริหารคน บุคลากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นปัจจัยสาคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ประกอบด้วย บุคลากร ความรู้ จิตอาสาและระเบียบวินัย/ข้อบังคับ 3) การจัดการ เป็นการดาเนินงานหรือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กาหนดไว้ ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนดาเนินไปตามแผนที่วางไว้และแนวทางที่จะไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพวัดและชุมชนจะต้องมีการดาเนินตามขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กิจกรรมเชิงพุทธ การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักทางพระพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมเชิงพุทธ ด้านความเชื่อดั้งเดิมที่หล่อหลอมคุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของวัดและชุมชน ได้แก่ ความเชื่อ วิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม/ประเพณี กิจกรรมพุทธวิถี
การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่นและเผยแพร่คุณค่าของภูมิปัญญาของชุมชน โดยเริ่มจากการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในชุมชน การจัดการคนในชุมชน การบริหารจัดการและกิจกรรมเชิงพุทธ เพื่อให้เป็นการพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนและส่งเสริม สนับสนุนคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี แบบแผนดั้งเดิมของชุมชนให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อชุมชนและนักท่องเที่ยวให้เกิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
พงศธร เกษสาลี. คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Handbook). กรุงเทพมหานคร: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, 2543.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, “มารู้จักหนังสือท่องเที่ยวเชิงนิเวศกันเถอะ”. จุลสารการท่องเที่ยว. 2548.