การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 18
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, คุณภาพชีวิตการทำงานของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสพม.18 และตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัด สพม18 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และเก็บข้อมูลกับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด สพม.18 จำนวน 350 คน วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ค่าความสามารถในการจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สพม.18 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 40 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ การให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาความสามารถของบุคคล จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ การบูรณาการด้านสังคม จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ ประชาธิปไตยในการทำงาน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการตรวจสอบโมเดลความตรงเชิงโครงสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของครู พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 550.56, p = 0.876, df = 590, GFI=0.93, AGFI = 0.90, RMSEA = 0.000)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)