ความต้องการจําเป็นและแนวทางการนิเทศโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษในบริบทพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนใต้กรณีศึกษาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ไกรรัตน์ นิลฉิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • แวฮาซัน แวหะมะ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุธาทิพย์ นิลฉิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ต่วนยามีลา อัลอิดรุส โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุลัยญา หะยีหามะ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เต็มเดือน เต้าแก้ว โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจําเป็น, การนิเทศ, โครงการจัดตั้ง ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการนิเทศโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปัตตานี 2) แนวทางการนิเทศโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียนโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปัตตานี ผู้ประสานงาน กรรมการโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น  และ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเครือข่ายใจความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นการของนิเทศโครงการ ประกอบด้วย การนิเทศโครงการในสถาพจริง การโค้ชให้คำปรึกษา และ เครือข่ายความร่วมมือ 2) แนวทางการนิเทศโครงการ พบว่าควรใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุน

References

Anonymous. (2009). Student Teaching: University Supervisor Role. Retrived July 18, 2014, from http://www.lis.uiuc.edu/programs/k12/handbook/supervisor-role.html.
Boonpitak, S. (2014). Forms of Teacher Development for Research on developing Sufficiency economy study in lower secondary education.
Boonsawat, W. (1995). Educational Supervision Principles. Bangkok: Art Graphic.
Chaiyaso, P. et al. (2010). Research Report on The development of innovation promotion for Educational Internship Network, Faculty of Education, Kasetsart University. Office of the Education Council.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting mixed methods research. (2nd ed.). Thousand Oaks, California: Sage.
Glickman C. & Bey T. (1990). Handbook of Research on Teacher Education. New York: McMillan.
Jennifer, AS. (2001). Thematic networks: an analytic tool for qualitative research. Journal of Qualitative Research. 1(3), 385-405.
Jung, H. J. (2014). Ubiquitous learning: Determinants impacting learners’ satisfaction and performance with smartphones. Language Learning & Technology, 18(3), 97-119.
Kanjanawasee, S & Pitayanon, T & Srisuko, D. (2008). Selection of appropriate statistics for research. (5th edition). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.
McIntyre, J. D. & Myrd, D. M. (1996). “Preparing Tomorrow Teacher: The Field Experience.” Teacher Education Yearbook. California:Corwin Press Inc.
Phongsri, P. (2006). Educational Research. Bangkok : Tiemfa Printing.
Prince of Songkla University. (2016). Integration Plan for Solving Problems in the southern border provinces. Prince of Songkla University.
Rahimmula, C. (2005). Crisis in the Southern Border Provinves. Bangkok: The Asia Foundation, pp. 7-8.
Rakwong, M. (2003). The Problem of Student Teachers. Journal of Education Prince of Songkla University. 15(1) : 95-104.
Rodraengkha, W. (2010). The roles of educational Supervisor during the internship of Pre-service Teachers.
Sakamura, K., & Koshizuka, N. (2005). Ubiquitous computing technologies for ubiquitous learning. In Wireless and Mobile Technologies in Education, 2005. WMTE 2005. IEEE International Workshop on (pp. 11-20). IEEE.
Sungtong, E. (2008). Research Report on Muticultural Leadership of Public School Principals in the Three Southern Border Provinces. Prince of Songkla University.
Thailand Development Research Institute. (2012). Research Report on the study of Manpower Needs for the country’s plan for Personnel Production and development.
Vladoiu, M., & Constantinescu, Z. (2011). U-learning within a context-aware multiagent environment. arXiv preprint arXiv:1101.3836.
Wongwanich, S. (2005). Needs Assessment Research. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-10-2020