แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ร้อยโท หัสนัย หัตถวงษ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การพัฒนาครู, ครูอาชีวศึกษา, ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮิร์ซเบิร์ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถาบันอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ (3) ศึกษาปัจจัยอนามัยในบริบทการทำงานของครูอาชีวศึกษา  ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg  เป็นกรอบในการศึกษา ประชากรคือครูในสังกัดสำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 911 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตามสะดวก จำนวน 278 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมระดับจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือ “มีความรู้สึกดี ต่ออาชีพและการทำงาน” (ค่าเฉลี่ย 4.46) ส่วนข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือ “มีช่วงเวลาที่มีความสุขในการทำงาน” (ค่าเฉลี่ย 4.16) และในส่วนของคำถามเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมด้านปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.99)หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือ “ความสำเร็จในการทำงาน” (ค่าเฉลี่ย 4.16) ส่วนข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือ “โอกาสในการก้าวหน้า” (ค่าเฉลี่ย 3.89) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับน้อย (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ  .215) ผลการศึกษาด้านปัจจัยอนามัยพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมของปัจจัยอนามัยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.93) หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือ “สถานะของอาชีพ” (ค่าเฉลี่ย 4.17) ส่วนข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือ “การบังคับบัญชา” (ค่าเฉลี่ย 3.75) ผลการศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบส่งเสริมความก้าวหน้าของครู การยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ และการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจของครูอาชีวศึกษาได้

References

Department of Religious Affairs. 2009. Royal Guidance of His Majesty King Bhumibol Adulyadej on Religion and Morality. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited Press.
Grey, R. et al. 2010. Happiness is Universal. Bangkok: Institute for Population and Social Reserch, Mahidol University. [in Thai]
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. 1959. The motivation to work (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Ministry of Education. 2013. Research results towards teachers' sufferings: The cause of despair (Online). www.moe.go.th, 14 January 2017. [in Thai]
_____. 2016. Education policy of the Cabinet (Online). www.moe.go.th, 5 February 2017. [in Thai]
_____. 2016. The 12th National Education Development Plan (B.E.2560-2564). Bangkok: Office of the Permanent Secretary Ministry of Education. [in Thai]
Mokkaranurak, D. 2011. The Scenario of Vocational Education in Thailand during the Next Decade (2011-2021). Doctor of Philosophy Thesis in Educational Administration, Khon Kaen Universty. [in Thai]
Office of the Civil Service Commission. 2017. Thailand in the Thailand 4.0 model under the Constitution of The Kingdom of Thailand B.E. 2560 (Online). www.ocsc.go.th, 12 June 2017. [in Thai]
Office of the Education Council. 2015. Status of Teacher Education and Development in Thailand. Bangkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd. [in Thai]
Palmer, P.J. 1998. The Courage to Teach. San Francisco: Jossy-Bass Publishers.
Pattaravanich, U., K. Subin, and A. Manawatthanawong. 2016. Balance of Teachers’ Happiness. Bangkok: Institute for Population and Social Reserch, Mahidol University. [in Thai]

Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand. 2012. Professional Development Plan of Khurusapha (B.E. 2555-2559). Bangkok: Bonus Prepress Company Limited. [in Thai]
Sungthip, S. 2011. “Factors Affecting Happiness at Work of Teachers under the Office of Basic Education Commission: An Application of Structural Equation Model”. Online Journal of Education 6(1): 2563-2577. [in Thai]
Thailand Development Research Institute. 2011. Revamping Thai Education System: Quality for All. Bangkok: Thailand Development Research Institute. [in Thai]
_____. 2013. Developing Basic Education Reform Strategy for Responsibility. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]
Wangthanomsak, M. 2007. The Model of Teachers’ Job Motivation. Doctor of Philosophy Thesis in Educational Administration, Silpakorn University. [in Thai]

Office of the Education Council. 2015. Status of Teacher Education and Development in Thailand. Bangkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd. [in Thai]
Palmer, P.J. 1998. The Courage to Teach. San Francisco: Jossy-Bass Publishers.
Pattaravanich, U., K. Subin, and A. Manawatthanawong. 2016. Balance of Teachers’ Happiness. Bangkok: Institute for Population and Social Reserch, Mahidol University. [in Thai]

Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand. 2012. Professional Development Plan of Khurusapha (B.E. 2555-2559). Bangkok: Bonus Prepress Company Limited. [in Thai]
Sungthip, S. 2011. “Factors Affecting Happiness at Work of Teachers under the Office of Basic Education Commission: An Application of Structural Equation Model”. Online Journal of Education 6(1): 2563-2577. [in Thai]
Thailand Development Research Institute. 2011. Revamping Thai Education System: Quality for All. Bangkok: Thailand Development Research Institute. [in Thai]
_____. 2013. Developing Basic Education Reform Strategy for Responsibility. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]
Wangthanomsak, M. 2007. The Model of Teachers’ Job Motivation. Doctor of Philosophy Thesis in Educational Administration, Silpakorn University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29