ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี, ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ และ 4) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 2) ระดับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง ทั้งโดยรวมและรายด้าน และ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีโดยปรับกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างความร่วมมือในยุคดิจิทัลกับหน่วยงานอื่น ส่งเสริมการทำวิจัยด้านเทคโนโลยีและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นผู้นำที่มุ่งมั่นไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย และเป็นแบบอย่างในการใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
References
between Administrator Leadership and Primary
School Effectiveness in Kabinburi District Under Prachinburi Primary Education
Service Area Office 2. Dissertation of Master Degree of Education in Burapha
University. [in Thai]
Boonchan, B. (2011). A Structural
Equation Model of Information Technology Leadership for basic School Administrators. Dissertation of Doctor Degree of
Education in KhonKaen
University. [in Thai]
Boonying, W. (2013). An Analysis of the
Basic Education Curriculum of the Republic of Korea. Journal of Education Naresuan University, 15 (2), pp. 97-97. [in Thai]
Buranrom, P. (2017). Factors affecting
the effectiveness of academic administration Under Mahasarakham Primary
educational Service Area Office
3. Dissertation of Master Degree of Education in Mahasarakrm university. [in Thai]
ISTE. (2009). National educational
Technological standards (NETS•A) and performance
indicators for administrators. Retrieved June 10, 2017 from www.iste.org.
Kawmongkon, S. (2012). Factors
influencing the effectiveness of
academic Affairs Administration Primary school under Bangkok Metropolitan Administration. Dissertation of Doctor Degree of Education (Educational Administration) in Kasetsart University. [in Thai]
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970).
Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement. 30, pp. 607-610.
Ministry of Education. (2007). A guide
to basic school administration that is a legal entity. Bangkok: Printing Organization of Transfer Products and Packging. [in Thai]
______. (2008). Core Curriculum for
Basic Education BE 2008. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
Marianne, B. and K, Ellen. (2005). The
New CIO Leader: Setting the
Agenda and Delivering Results.
Boston: Harvard Business Review.
Molyneux, P. Godinho, S. (2012). This is
my thing!: Middle years students’
engagement and learning using digital resources. Australasian Journal of Education Technological, 28, pp. 1466–1486.
Ritchie, J., Spencer, L., and O’Connor,
W. (2003). Carrying out qualitative analysis. In J.
Ritchie and J. Lewis (eds.),
Qualitative Research Practice: A Guide for Social
Science Students and Researchers. London: Sage.
Rooboon, K. (2014). The Relationship
between Leadership Style and the Effectiveness
of the Academic Administration in School under the Primary
Office of Udonthanee Educational Service Area 3. Dissertation of Master Degree of
Education in Sukhothai Thammathirat University.
[in Thai]
Suktanarak, S. (2011). The Relationship
between leadership of school administrators and Academic Administration Competencies of Schools in Amphoe Klongluang
Under The Office of Pathumthani Primary Educational Service Area 1.
Dissertation of Master Degree of Education in Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Tangprasert, D. (2014). A Study of
Factors Effecting Information Communication and
Technology Leadership of Secondary School’s Administrators in Kakhon
Ratchasima Province. Dissertation of Master Degree of Education Rajabhat in Nakhon Ratchasima University. [in Thai]
Vejjajiva, A. (2016). Challenge Issue on
Thailand Education Reform.
Kasetsart Educational Review,
31(1), pp. 1-3. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)