ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ศิริพร วงศ์กระต่าย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • วรรณวิศา สืบนุสรณ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร  ศึกษาการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 257  คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการฟังความต้องการของผู้ตาม สูงที่สุด อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ                   การเป็นแบบอย่างด้านคุณลักษณะและพฤติกรรม  ส่วนการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ด้านการดำเนินการจัดการกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ด้านการควบคุมคุณภาพอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร   โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เป็นรายด้านพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการฟังความต้องการของผู้ตามมีความสัมพันธ์กับการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้สูงที่สุด ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการฟังความต้องการของผู้ตามเพื่อการบริหารกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่มีประสิทธิภาพ

References

Bass, B. M., & Avolio, B. J.(1985). The implication of transactional transformational leadership for individual, team, and organization development. Research in Organization Change and Development, 4. pp.141.
Kwanta Khuakoonrat. (2002). Effects of transformational leadership of school administrators on effectiveness of medium-sized schools in Amphoe Photharam under the Office of Ratchaburi Primary Educational Service Area 2 Program Educational Administration Technology. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). National Education Act, 1999 And amendments(No. 2) BE 2002 Bangkok: Shipping Agency (ECD).(in Thai)
Office of the Basic Education Commission Bureau of Academic and Educational Standards. (2015) Guidelines on implementation of the Moderate Class More Knowledge Project. Office of the Basic Education Commission Academic and Educational Standards Ministry of Education. (in Thai)
Saowanit Saonanoont. (2009). Leadership. Nakhon Ratchasima : Faculty of Education, Rajabhat Institute, Nakhon Ratchasima. (in Thai)
Sirikarn ngachang. (2017). Evaluation of the More Knowledge Project in Chiang Dao School, Chiang Mai Province. Master of Business Administration Educational administration Far East University. (in Thai)
Surin munprasong. (2016). Activity Management of the Moderate Class More Knowledge Project in Kindergarten Schools in Phitsanulok. Teacher Development Institute Faculty and educational personnel. (in Thai)
Suthep pongsriwat. (2008). Leadership :Theory and Practice. Chiang Rai : Rajabhat Institute Chiang Rai. (in Thai)
The Secondary Education Service Area Office 10. (2017). Evaluation of the Moderate Class More Knowledge Project: From Policy to Practice. Phetchaburi: office. (in Thai)
Vicharn Panich. (2012). The Way to Build Learning for Disciples in the 21st Century. Bangkok: Fresh Foundation Sri-Saritwong. (in Thai)
William, L.K; Steers, R.M.; & Terborg, J.R. (1995 , July). The effects of transformational leadership on teacher attitudes and student performance in Singapore. Journal of Organization Behavior. 16(4): 319-333.
Yukl & Fleet., (1992). Theory and research on leadership in organizations ,in handbook of industrial and organization psychology. California : Consulting Psychologists.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01