การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชางานธุรกิจ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ยุพดี กลิ่นน้อย ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รัชดากร พลภักดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT กับส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ในการทำกิจกรรมนักธุรกิจน้อย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชางานธุรกิจ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบดินทรเดชา  (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน ประกอบด้วยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวน 31 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน  2) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และ 3) แบบประเมินทักษะการนำเสนองานกลุ่ม และเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์  SWOT กับส่วนประสมทาง

การตลาด (4P’s) ในการทำกิจกรรมนักธุรกิจน้อย จำนวน 5 แผนการเรียนรู้  2) แบบบันทึกหลังการสอนที่สังเกตพฤติกรรมผู้เรียนและให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT กับส่วนประสมทางการตลาด (4P’s)  ในการทำกิจกรรมนักธุรกิจน้อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1)  ผลการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT กับส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ในการทำกิจกรรมนักธุรกิจน้อย พบว่านักเรียนมีความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ด้านการจำแนกแยกแยะข้อมูล ด้านการเปรียบเทียบเพื่อจัดระบบข้อมูล ด้านการหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ด้านวิธีการแก้ปัญหา และด้านประโยชน์ของการนำข้อมูลไปใช้ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยในภาพรวมของทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15 นอกจากนั้นยังพบว่าพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT กับส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ในกิจกรรมนักธุรกิจน้อย อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าร้อยละเท่ากับ 81.20 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.24 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 และมีทักษะการนำเสนองานกลุ่มหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการวิเคราะห์ SWOT ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ในการทำกิจกรรมนักธุรกิจน้อย อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าร้อยละเท่ากับ 90.45 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.09 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.14  2) ผลการสะท้อนกลับข้อมูลไปยังผู้เรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่าครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์กับตนเองและสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นได้ ไปปรับปรุงแก้ไขด้านการคิดวิเคราะห์และสามารถนำไปปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนทำงานได้ดียิ่งขึ้นและมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้นได้

References

Academic and Educational Standards, 2006.
The learning management approach
To Develop analytical skills. Bangkok:
Printing Agriculture Cooperatives of
Thailand. [in Thai]

Boom, 1956. Taxonomy of Educational
objectives: The classification of
educational goals. Handbook I,
cognitive domain. New York: Longman.

Division of Research Administration and
Educational Quality Assurance,
2017. Thailand 4.0 Education
Model Driving Thailand to
prosperity and stability Substianble.
Retrieved November 9, 2017 from
http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/ Thailand-4.0.pdf.

Ennis, R.H. 1985. A logical basic for
measuring critical thinking skill.
Educational Leadership.

Good, C.V. 1973. Dictionary of Education.
Edited by Good, Carter V. New York:
McGraw - Hill.

Khaemmanee T. 2010. Teaching science
Knowledge to organize learning
Process performance. Bangkok:
Chulalongkorn University. [in Thai]

Ministry of Education, 2008. Core
Curriculum Education Basic
Education, 2008. Office of the
Basic Education Commission.
Bangkok: Printing Agriculture
Cooperatives of Thailand. [in Thai]
Ministry of Education, 2010.
Education Act National, 1999
And Amended (No.2nd), 2002
And (NO.3), 2010. Bangkok:
Tecaher Council Lardprao. [in Thai]

Mulkom, S. 2007. Analytical Teaching
Strategies. (4th edition) Bangkok:
Phapphim Partnership. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission,
2005. The teaching and learning
process is focused on learner.
Bangkok: Printing Agriculture
Cooperatives of Thailand. [in Thai]

Pradissuwan, N. and Others, 2016.
The Instruction of Business Work
In Secondary Education Level Based
On Teachers’ Opinions in Work-
Oriented Experiences and Technology
In Secondary Education Service Area
Office in Area 6 in Chachoengsao
Province. Academic journal of Faculty
of Education Kasetsart University,
31(3), 84 – 93.

Royal Academy. 1989. Dictionary
Sociology. Bangkok: Amarin printing
Group. [in Thai]



Susaurut, P. 2008. Thinking
Development. Bangkok: 9119
Technique printing. [in Thai]

Suttinarakorn, W. 2017. Future of Thai
Studies in Context Thailand 4.0 The
view by Vejjajiva, A. Academic journal
of Faculty of Education Kasetsart
University, 32(1) 47 – 50.

Sithirat, C. 2010. Techniques to use
thinking development question.
Bangkok: Sahamit Printing and
Publishing. [in Thai]

The Secretariat of the Council of
Education, Ministry of Education,
2017. National Education Plan
2017– 2021. Bangkok: Prigwan
Graphic. [in Thai]

Wongwanich. S, 2017. Classroom Action
Research. (19th edition) Bangkok:
Publisher of Chulalongkorn
University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-01-2019