การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญา ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • วีรวัฒน์ เข้มแข็ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณิต เขียววิชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นรินทร์ สังข์รักษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการความรู้ของกลุ่ม, ผู้สูงอายุ, ทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและสภาพปัจจุบันในการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต 3) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้กลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า
ชุมชนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่มีรูปแบบเฉพาะในการค้นหา และการถ่ายทอดองค์ความรู้จากทุนทางปัญญา ของแต่ละชุมชน โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม อาชีพ บริบทในการดำเนินชีวิต ปราชญ์ผู้รู้ในชุมชน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ รอบชุมชน คอยเอื้อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้
รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างทุนทางปัญญาในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต มีองค์ประกอบสำคัญ ๓ องค์ประกอบคือ ๑) การค้นหาทุนทางปัญญา S (Search for Intellectual Knowledge) มีหน่วยย่อย ประกอบด้วย (๑.๑) การสร้างโอกาส เพื่อเอื้อให้เกิดการพบปะพูดคุยกันของกลุ่มผู้สูงอายุ (Socialization) (๑.๒) กระบวนการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่น่าสนใจ อันเกิดจากประสบการณ์ วิถีการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพผ่านกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Externalization) (๑.๓) การค้นหาและรวบรวมองค์ความรู้เฉพาะ ที่น่าสนใจจากประสบการณ์ของผู้สูงอายุรายบุคคล ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่มีมิติลุ่มลึก รวบรวม กลั่นกรอง เพื่อจัดทำเป็นสารสนเทศของทุนปัญญา (Combination of Intellectual Capital) ๒) ขั้นจัดการศึกษาตลอดชีวิต L (Learning Life Long Education) คือการนำสารสนเทศของทุนทางปัญญามาวิเคราะห์จัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้น และนำไปจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กลับสู่คนในชุมชนและบุคคลที่สนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายของการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ได้แก่ทักษะในการประกอบอาชีพ (Occupational skills), ทักษะในการดำเนินชีวิต (Life skills), ทักษะเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Development and community skills) ๓) ขั้นสะท้อนกลับการเรียนรู้ R (Reflection) ใช้การวัดผลตามจุดมุ่งหมายที่คาดหวังในการเรียนรู้ ได้แก่ทักษะขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย ๑) ทักษะชีวิต ๒) ทักษะในการพัฒนาอาชีพ ๓) ทักษะเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งการสะท้อนกลับการเรียนรู้นี้สามารถเกิดขึ้นตลอดในทุกขั้นตอนของรูปแบบ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง พัฒนา ให้ตรงกับความต้องการเรียนรู้และการนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน

 

References

References
Department of Provincial Administration. Official Statistics Registration Systems. Retrieved August 2, 2015, from http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.
Vorapipat, K. (1986). Lifelong education Include non-formal education articles. No5. Bangkok: Office of Non-formal and Informal Education.
Office of National Economic and Social Development Board. (2013). National Economic and Social Development Plan Development Plans. No11. Bangkok.
The Institute for the promoting of Teaching Science and Technology. (2013). Report of assessment PISA 2012. Bangkok: Advance Printing Service Company Limited.
Ikujiro, N. (2006). Creating Sustainable Competitive Advantage through
Knowledge-Based Management. Documents for seminar of Office OPDC January 18, 2007.
________ . (2007). The Knowledge-Creating Company Harvard Business Review July–August 2007. Harvard Business school publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-01-2019