การประเมินผลโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัญญาวรคุณ เพื่อปรับปรุงบทเรียน STAR STEMS เรื่อง “A CHEMICAL FREE LIFE”

ผู้แต่ง

  • ทศพร โศภิษฐ์ธรรมกุล โรงเรียนปัญญาวรคุณ

คำสำคัญ:

STAR STEMS, 5 หลาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งประเมินปรับปรุงบทเรียน STAR STEMS เรื่อง “A CHEMICAL FREE LIFE” โดยมีผู้ให้ข้อมูลเป็นนักเรียนโรงเรียนปัญญาวรคุณตามการประเมินการเรียนรู้ด้วยวิธี 5 หลาย  

          กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง ม. 6/1, 6/4 และ 6/7 จำนวน 56 คน โรงเรียนปัญญาวรคุณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแบบประเมินผลแผนการจัดการเรียนรู้ STAR STEMS แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง “A Chemical Free Life” โดยวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามด้วยความถี่และร้อยละ และใช้เกณฑ์การผ่านของจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ข้อมูลนี้ได้นำมาวิเคราะห์อีกครั้งกับการประเมินการเรียนรู้ด้วยวิธี 5 หลาย เพื่อที่จะพัฒนาการออกแบบบทเรียนเพิ่มเติมสำหรับความหลากหลายในการเรียนรู้ของนักเรียน 

          ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้เป็นแบบสารัตถนิยมและบทเรียนเป็นไปได้มากที่ใช้พุทธิพิสัยเป็นหลัก และบทเรียนนี้เหมาะสมกับผู้ที่เรียนรู้ทางสายตาแบบเชิงรับ แผนการจัดการเรียนรู้นี้ไม่ใช่แผนสำหรับการเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นการใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้จึงไม่พบในบทเรียนนี้ ยิ่งกว่านั้นเพื่อที่จะปรับปรุงบทเรียน ในหัวข้อของ “ใครประเมิน” “ประเมินที่ไหน” และ “ประเมินเวลาใด” ควรมีความหลากหลายของการประเมิน ในประเด็นของ “ใครประเมิน” ไม่เพียงแค่นักเรียนประเมินตนเอง แต่ให้ครูประเมินและเพื่อนนักเรียนประเมินด้วย ในส่วนของ “ประเมินที่ไหน” สามารถมีหลายสถานที่ในการประเมินได้ เช่น โรงเรียน บ้าน ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ และแหล่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในแง่ของ “ประเมินเวลาใด” แบบทดสอบก่อนเรียนควรจะนำมาเพิ่มในฐานะที่เป็นประเภทหนึ่งของการเรียนรู้ก่อนเรียน

 

คำสำคัญ :  STAR STEMS/ 5 หลาย

References

References

Cunningham, S. & Moor, P. (2010). Real Life Intermediate Students’ Book. Harlow: Pearson
Education Limited.

Dechakupt, P., & Yindeesuk, P. (2014). Learning Management in the 21st Century. Bangkok:
Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Educational System Reform Steering Subcommittee in Educational System Reform Steering
Committee in Committee for Steering National Reform of Education, National Reform
Steering Assembly. (2017). An Approach for the Use of Cultivating “Good Citizens and
Disciplines” Being Good People, Have Disciplines, Be Proud of the Nation, Be Skilled
According to Aptitude, And Being Responsible for Families, Communities, Societies, and
the Nation, with Learning Management Model “STAR STEMS” (3rd impression).
Nonthaburi: P&P Printing Prepress. [in Thai]

Kha-on, W. (2017). Enhancing Communication Skills of Prathomsuksa 4 Students Using
Situation-Based Learning. Master of Education thesis in Curriculum and Instruction,
Dhurakij Pundit University. [in Thai]

Numkanisorn, P. (2018). Thai learners’ Skills in the 21st Century. Kasetsart Educational
Review, 33 (1), 59-68. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551
(A.D. 2008). Bangkok: Ministry of Education.

Sivaraksa, S. (2002). Educational Philosophy (2nd ed.). Bangkok: Foundation For Children
(FFC) Publishing House. [in Thai]

Wangaard, D.B., Elias, M.J. & Fink, K. (2014). Educating the Head, Heart and Hand for the 21st
Century. Retrieved from: http://www.seenmagazine.us/Articles/Article-Detail/ArticleId/
4140/EDUCATING-THE-HEAD-HEART-AND-HAND-FOR-THE-21st-CENTURY.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-01-2019