การสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันในผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ : พหุกรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, ผังกราฟฟิกเร็พพรีเซนเทชัน, ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ, กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และแพตตันบทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ให้ ความสําคัญอย่างมากกับการพัฒนาความสามารถในการแก้ โจทย์ปัญหาให้กับผู้เรียน แต่เป็นเรื่องที่ยากในการพัฒนา ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าวให้กับผู้เรียนที่ มีความต้องการพิเศษ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ที่มีความต้องการพิเศษก่อนและหลังการสอนซ่อมเสริม คณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และ แพตตันร่วมกับเทคนิคกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน 2) เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของผู้เรียน ที่มีความต้องการพิเศษก่อนและหลังการสอนซ่อมเสริม คณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และ แพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันและ 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้โจทย์ ปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ก่อน ระหว่าง และหลังการสอนซ่อมเสริมโดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอล โลเวย์และแพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชัน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นผู้เรียนมีความต้องการพิเศษ ในการเรียนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในกรุงเทพมหานครจํานวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการสอนเฉพาะบุคคล แบบวัด เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน และ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องสมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตาม วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้เรียนที่มี ความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน คณิตศาสตร์หลังการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์มากกว่า ก่อนการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอน ของพอลโลเวย์และแพตตัน ร่วมกับเทคนิคกราฟิก เร็พพรีเซนเทชัน 2) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหลังการสอนซ่อมเสริม คณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และ แพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันสูงขึ้น มากกว่าก่อนการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์และ 3) ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษส่วนใหญ่มีพัฒนาการของ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังการสอนซ่อมเสริม คณิตศาสตร์ก่อน ระหว่าง และหลังการสอนซ่อมเสริม คณิตศาสตร์โดยใช้กลยุทธ์การสอนของพอลโลเวย์และ แพตตันร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเร็พพรีเซนเทชันที่ดีขึ้น ตามลําดับ
References
Arayawinyu, P. (2010). How to teach mathematics for Learning Disability. Nakhonprathom. I.Q book center. [in Thai]
Intarasan, U. (2012). The effects of using the Geometer’s sketchpad on the development of geometrical comcepts and attitudes towards learning of lower secondary school students. Master Degree theisi of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
Jitendra, A. (2002). Teaching student Math problem-solving through graphic representations. Journal of teaching exceptional children,34(2), 34-38
Kako, P., Thipkong, S. & Jantra, C. (2016). Trends in Learning Activitie That Focus On “Applications Of Linearr Equations With One Variable Using Open Approach and Problem Solving Strategies. Kasetsart Educational Review, 34(1), 146. [in Thai]
Lhincharoen, U. (2012). Analysis of Qualitative Data. Journal of Education Measurement Mahasarakham University, 17(1), (17-29) [in Thai]
Learning Disabilities Association of America. (2017). Graphic Organizers. Retrieved from http://www.LDAAmerica.org.
McGuire, W.J. (1969). The Nature of Attitudes and Attitude Change. Massachusetts.
Polloway, A. E. & Patton, J. R. (2001). Strategies for teaching learners with special needs. New Jersey; Merrill Prentice-Hall, Inc.,
Polya, G. (1957). How to Solve it. Princeton, NJ: Priceton University.
Rattanaphan, J. (2016). How to teaching in special needs’ students. Bangkok, Chulalongkorn University Printing house. [in Thai]
Rhuya, V. (2005). Effect of using graphic representational teaching on the Mathematical word-problem-solving performance of students with dyscalculia in Prathomsuksuksa three. Master Degree thesis of Education, Srinakarinwirot university. [in Thai]
Sarangbin, S. (2010). A study on academic achievement in addition problem solving and attitude toward Mathematics of grade 3 student with learning disability using remedial teaching with Polloway and Patton technique and number line method. Master Degree thesis of Education, Srinakarinwirot university. [in Thai]
Schwab, R. J. (2017). Math Interventions for Students with Mild Disabilities: A Meta-analysis and Graphic Organizer Intervention Study. the College of Education and Human Development Georgia State University. Retrieved from https://www.scholarworks.gsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1130&context=epse_diss.
Shaw, M. E., & Wright, J. M. (1971). Scalar for the Measurement of Attitudes. New York: McGraw-Hall Book.
Srinok, A. (2010). A study on scholastic achievement and Learning Retention of Grade 5 students with hearing impairment on live being and life existence process through POSSE strategy and VDO. Master Degree thesis of Education, Srinakarinwirot University. [in Thai]
Srisukvatananan, P., Ch. Hatairatana & Utajratamakit, D. (2016). An Application Of Vertical Equating For Development Of Kasetsart Basic Academic Skills Test For Person With Special Needs. Kasetsart Educational Review, 34(1),38. [in Thai]
The institute for the promotion of teaching science and technology. (2003). Handbook of Measurement and Evaluation. Bangkok. Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)