ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของวัยรุ่นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว, วัยรุ่นโรงเรียนของรัฐบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กวัยรุ่นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของวัยรุ่นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานคร 430 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแคว์
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ มากกว่าสองในสามนักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยวเพราะติดใจในรสชาติที่อร่อย รองลงมาสองในสามนักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยวระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ อ่านหนังสือ/เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เกือบสองในสามนักเรียนซื้อขนมขบเคี้ยวจากร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต นักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยวในงานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนๆ สามในห้านักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยว เพราะสะดวกต่อการรับประทาน และมากกว่าครึ่งนักเรียนรับประทานขนมขบเคี้ยว เพื่อบรรเทาความหิวหรือรองท้อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว พบว่า ปัจจัยด้านสังคม ด้านข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
Chattraporn, S. (2014). Opinions towards Thai Fabric Products of Home Economics Teachers, Vocational Education Commission. Master of Arts (Home Economics Education), Major Field Home Economics Education. Kasetsart University. [in Thai].
ChiradabSuangkawin. S. (2007). Bangkok City of Gray and Children. Bangkok: Samlada. [in Thai].
Hawkins D. L. & Mothersbaugh, D. L. (2010). Marketing Management. New York: McGraw-Hill.
Dolwithyakhuen, U. (2015). Basic Nutritional.Bangkok: Odaystroke. [in Thai].
Kajajittra, R., Phothisita, C., Achavanitkul, K. imem, W. Siriratmongkol, K. Sueangdang, H. & Charasti, S. (2011). Thai Health. Nakhon Pathom: Amarin Printing Publishing. [in Thai].
Makkiew, N. (2018May - August). Factors related to Sustainable Food Consumption Behavior of Public University students in Bangkok Metropolis. Kasetsart Educational Review, 33(2), 241. [in Thai].
Population and Social Research Institute Mahidol University. (2014). Thai Health.NakhonPathom: Amarin Printing Publishing. [in Thai].
Samuichakra, P. & Karnchanajira, M. (2014). Consumer behavior in Thai teenage and factors caused. Commission of Thammasat, 33 (1), 46-66. [in Thai].
Sutasworawuth, U., Jongwiriyapan, N. & Tantrachiwathorn, S. (2010). Putting to nutrition with Thai Children Nutrition Club. Biece Entrepreneur. [in Thai].
Tantipachiwa, K. (2010). Understand teenagers. Bangkok: Ruernpanya. [in Thai].
Teerasiri, L. (2011). Natural healing fat. Bangkok: Ruaimthas. [in Thai].
Wongwaiveg, D. (2008). Factors that are associated with consumption behavior candy frame of preschool children Municipal Capital district Trad.Independent study studies. Home Economics Education, Kasetsart University. [in Thai].
YuenYong, S., Muphayak, K., & Suwanlup, N. (2012). Comparative study of factors related to nutrition in pre-school children in muang district Suphanburi province. Journal of Nursing Science, 30 (2), 90-100. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)