ผลของการจัดกิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง วัตถุ ภาพ และภาษา ที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์, ทักษะการคิดวิเคราะห์, วัตถุ ภาพ และภาษา, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงวัตถุ ภาพ และภาษา
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยเพศชายและหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลชนแดน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงวัตถุ ภาพ และภาษา รายสัปดาห์ จำนวน 8 แผน และแบบประเมินเชิงปฏิบัติเพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบรูปและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงวัตถุ ภาพ และภาษา มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการจำแนก ด้านการหาความสัมพันธ์ ด้านการให้เหตุผล และด้านการสรุป
References
Bruner, J. S. (1956). Toward a theory of instruction, Cambridge, Mass.: Belkapp Press.
Burnett, J. (2019). ORIGO Teaching Concepts, Retrieved from https://www.origoeducation.com/ourapproach/.
Chaila, J. (2017) Results of art activities to develop basic mathematical skills on patterns and relationships for preschool Children. Master Degree of Education, Kasetsart University. [in Thai].
Gagen, R. (2002). Essentials of learning for instruction. The Diyder Press Hinsdals.
Makanong, U. (2011). Mathematical skills and processes: development for development. 2nd edition, Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai].
Meesawong, P. (2011). The Effects of Story Telling Activities with Using Questions.(Master Degree of Education, Kasetsart University). [in Thai]
Monthong, N. (2015). Mathematics skills, patterns and relationships. Retrieved from https://sites.google.com/a/mail.pbru.ac.th/mathematics-highschool1/khnitsastr-m-1-lem-2/bth-thi-4-smkar-cheing-sen-tawpaer-deiyw/reuxng-baeb-rup-baeb-laea-khwam-samphanth. [in Thai].
Mulligan, J. and Mitchelmore, M. (2011). Assessing the development of pre-schoolers’ mathematical patterning. Journal for Research in Mathematics Education, 42(3), 237-268.
Noiklay P. (2010). Analysis Thinking Ability of Young Children Participated In Didactic Game Activities.Master thesis, M.Ed. (Early Childhood).Retrieved from Graduate School, Srinakharinwirot University. [in Thai].
Susaoruj, P. (2010). Development of thinking. 4thedition, Bangkok: 9119 Technical Printing Partnership. [in Thai].
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2010). Standard framework for learning mathematics According to the curriculum of early childhood education, 2003. Bangkok. [in Thai].
Wongsapan, M.(2013). Upgrading student learning with analytical thinking process. Journal of Education Thaksin University, 13(2), 125-139. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)