การพัฒนาความฉลาดรู้ทางอาหารของนิสิตครูคหกรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ผู้แต่ง

  • สุวิมล อุไกรษา สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความฉลาดรู้ทางอาหาร, คหกรรมศาสตร์, นิสิตครูคหกรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาความฉลาดรู้ทางอาหารของนิสิตครูคหกรรมศาสตร์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย คือ นิสิตครูคหกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2-4 จากหลักสูตรผลิตครูคหกรรมศาสตรศึกษาแห่งหนึ่ง ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร แบบสะท้อนการเรียนรู้ แบบประเมินกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร แบบประเมินความฉลาดรู้ทางอาหาร และแบบประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสารและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร จัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร ให้นิสิตออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความฉลาดรู้ทางอาหาร 20 นาที จากนั้นประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางอาหาร ประเมินความฉลาดรู้ทางอาหาร และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัย พบว่า นิสิตเกือบทั้งหมดพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางอาหาร มีข้อเสนอแนะสำหรับบางกิจกรรมที่ให้เพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมและให้เพิ่มเวลาในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางอาหารเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ส่วนทักษะศตวรรษที่ 21 และทักษะการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาของนิสิต พบว่า โดยรวมและทุกทักษะอยู่ในระดับมาก บางกิจกรรมพัฒนามากกว่าหนึ่งทักษะ และความฉลาดรู้ทางอาหารนิสิตประเมินตนเองระดับมาก

References

Colatruglio, S. & Slater, J. (2014). Chapter 3: Food Literacy: Bridging the Gap between Food, Nutrition and Well-Being. In Deer, F., Falkenberg, T., McMillan, B. & Sims, L. (Eds.), Sustainable well-being: concepts, issues, and educational practices (pp. 37-55). Manitoba, Canada: Education for Sustainable Well-Being Press (ESWB Press).

Cullen, T., Hatch, J., Martin, W., Higgins, J.W. and Sheppard, R. (2015). Food literacy: Definition and Framework for Action. Canadian Journal of Dietetic Practice and Research: 76(3): 140-145.

Dachakupt, P. & Yindisuk, P. (2015). 21st Century Learning Management. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Nourish. (2009). Nourish Curriculum Guide. Retrieved August 20, 2018, from http://www.nourishlife.org/teach.

Nowak, A. J., Schneyer, L. and Roberts, K. H. (2012). Building Food Literacy and Positive Relationships with Healthy Food in Children through School Gardens. Childhood Obesity: 8(4): 392-395.

Office of the Education Council, Ministry of Education. (2017). National Education Plan B.E. 2560-2574. Retrieved February 20, 2018, from http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf. [in Thai]

Pendergast, D., Garvis, S., and Kanasa, H. (2011). Insight from the Public on Home Economics and Formal Food literacy. Family & Consumer Science Research Journal 39(4), 415-430.

Pendergast, D., and Dewhurst, Y. (2012). Home economics and food literacy – An International investigation. Retrieved April 20, 2018, http://www98.griffith.edu.au/dspace/bitstream/handle/10072/49542/79938_1.pdf?sequence=1.

The Giessen Declaration. (2005). Public Health Nutrition. September 2005; 8(6A): 783-786.

Vidgen, H. A. (2014). Food Literacy: What is it and does it influence what we eat? Doctor of Philosophy School of Exercise and Nutrition Sciences, Faculty of Health, Queensland University of Technology. Retrieved March 13, 2018, Website: http://eprints.qut.edu.au/66720/1/Helen_Vidgen_Thesis.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2019