การพัฒนากิจกรรมความเป็นผู้ประกอบการในรายวิชางานอาชีพโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสุทธิวรารามกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุทิศา เสาวกุล สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พนิต เข็มทอง ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมความเป็นผู้ประกอบการ, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมความเป็นผู้ประกอบการในรายวิชางานอาชีพ  โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวัดสุทธิวราราม  กรุงเทพมหานคร  ประชากรที่ศึกษา  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวัดสุทธิวราราม  กรุงเทพมหานคร  ที่ศึกษาใน  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2561  จำนวน  2  ห้องเรียน  ประกอบด้วยชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/5  จำนวน  35  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่  1)  แบบประเมินทักษะและความสามารถในการวิเคราะห์กิจการ (SWOT Analysis)  2)  ประเมินความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการ  3)  แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  4)  แบบประเมินทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  5)  แบบประเมินการจัดทำโครงงาน  และเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ  ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมความเป็นผู้ประกอบการในรายวิชางานอาชีพ  เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม SWOT Analysis  ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชางานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม  จำนวน 2 แผนการเรียนรู้  ประกอบด้วย  1.1)   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1   ความเป็นผู้ประกอบการ  1.2)   แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2  โครงงานเพื่ออาชีพ  กิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ   คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย  พบว่า  1)  ผลการพัฒนากิจกรรมความเป็นผู้ประกอบการในรายวิชางานอาชีพ  โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน  ผ่านกิจกรรม SWOT Analysis  พบว่านักเรียนมีความรู้  ทักษะ  และคุณสมบัติ  ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  โดยในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( x = 4.68 , S.D. = 0.47)  นอกจากนี้ยังมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับดีมาก  ส่วนของการทำงานกลุ่มของนักเรียนพบว่า  นักเรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด  และการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนของนักเรียน พบว่า  อยู่ในระดับมากที่สุด  ตลอดจนการจัดทำการจัดทำโครงงานด้านรูปเล่มโครงงาน  ด้านกระบวนการทำงาน  และด้านผลสำเร็จของงานอยู่ในระดับมาก  2)  ผลการสะท้อนกลับข้อมูลไปยังผู้เรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์กับตนเองและ สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นได้ไปปรับปรุงแก้ไขด้านความรู้  ด้านทักษะ  และด้านคุณสมบัติ  และยังสามารถนำไปปรับปรุง การทำงานให้ดียิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนทำงานได้ดียิ่งขึ้น และมีความรู้  ทักษะ  คุณสมบัติในระดับที่สูงขึ้นได้

References

Office of the National Economic and Social Development Board The Prime Minister. (2560). National Economic and Social Development Plan (No.12), 2017-2021.Retrieved from http://www.nesdb.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=6422. [In Thai].

Ministry of Education. (2010). Education Act 1999 And Amended(No.2nd), 2002 And (No.3), 2010. Bangkok: Teachers Council of Ladprao. [In Thai].

Bloom, B. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York. David McKay.

Wongwanich,S. (2017). Classroom Action Research.(19th edition) Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. [In Thai].

Khaemmanee, T. (2010). Teaching Science Knowledge to Organize Learning Process Performance. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai].

Susaurut, P. (2008). Thinking Development. Bangkok: 9119Technique printing. [In Thai]

Sitthirat, C. (2010). Techniques to use thinking development question. Bangkok: Sahamit Printingand publishing. [In Thai].

Klinnoi, Y. (2018). Instructional Management by Using SWOT Analysis Activities to Strengthen Analytical Thinking Skills for Mathayomsuksa 1 Students in Business Subject in Learning Area of Occupations and Technology of Bodindecha (Sing Singhaseni) Nonthaburi School. Master Degree thesis of Education (Business and Computer Education). Kasetsart University. Bangkok. [In Thai].

Moonkam, S.(2007). Analytical teaching strategies. Bangkok: Print Image Partnership Limited. [In Thai].

Reunsuk, S. (2009). Preschool Children’s Cooperative Behavior Experienced ThroughGroup Creative Art Activities. Master of Education Degree in Early Childhood Education. Bangkok: Srinakarinwirot University. [In Thai].

Panitkitkosolkul, S. (2013). Factors related to behavioral responsibility in the operation of personnel of Department of Disaster Prevention and Mitigation, Ministry of Interior.Master of Science Degree in Applied Behavioral Science Research Bangkok: Srinakharinwirot University. [In Thai].

Rakyut, C. (2016). Study of assertive behavior in speaking, presenting the class by using practice activities Assertive behavior in vocational level 1 in tourism Retrieved from https://slideplayer.in.th/slide/ 3102724/. [In Thai].

Wongyimyong, V. (2013). Developing the ability to work in groups By using the awareness-building process Of grade 2 students at Prince Royals College. Retrieved from https://academic.prc.ac.th/TeacherResearch/ResearchDetail.php?ID=1234[In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30