การออกแบบวีดิทัศน์ดิจิทัลและแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง สำหรับนักเรียนในโรงเรียนขาดแคลนครู

ผู้แต่ง

  • ชญานี พรหมรัตน์พรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัตสาตรี ดิถียนต์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

วีดิทัศน์ดิจิทัล, แผนการจัดการเรียนรู้, พฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง, โรงเรียนขาดแคลนครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนขาดแคลนครู 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากใช้แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนขาดแคลนครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านในเขียว 1-2, โรงเรียนวัดเขาปูน และโรงเรียนบ้านชุมขลิง โดยสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน จำนวนทั้งหมด 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ), วีดิทัศน์ดิจิทัล และแบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของผู้เรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาพฤติกรรมทั่วไปหลังจากนักเรียนศึกษาด้วยสื่อวีดิทัศน์และแผนการสอน ผู้เรียนมีพฤติกรรมวินัยด้านทั่วไป อยู่ในระดับดีมาก (= 4.76, S.D. = 0.11) และผลการศึกษาการมีวินัยในด้านภายในห้องเรียนอยู่ในระดับดีมาก (= 4.52, S.D. = 0.08) 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีค่าผลต่างเฉลี่ย (D) = 2.88 และมีค่าสถิติที (t-test) = 6.60

References

Kohlberg, L. (1976). Moral stage moralization: The cognitive development and behavior: heory research and social issues. New York :Holt, Reinhart and Winston.

Chantong,T. (2004). A video development of science subject on water pollution for prathomsuksa 6 students, Omnoi school, Amphoe Krathumbaen, Samutsakhon province.[in Thai]

Mundee,N. & Haruthaithanasan, T. (2018). Educational Management of Distance Learning Television of small-Sized Schools for Thai Education 4.0. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 29(2), 209-218.[in Thai]

Piromkaew,P. and Kenperm, J.(2015). The Development of Animated Cartoon on Howdy English for Prathomsuksa 2 Students. VRU Research and Development. Journal Humanities and Social Science. 10(2),311-317.[in Thai]

Lungka, P. (2008). Effects of using a parent educational program to enhance preschoolers' self discipline by using SECI model. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2012). Implementation of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008).Bangkok: Century Co. Ltd.[in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31