การเปรียบเทียบมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, มโนมติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบ มโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและก่อนและหลังเรียนด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 79 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่มและสุ่มอย่างง่ายได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้หน่วย การเรียนรู้ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน จำนวน 6 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบวัดมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
1. มโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานนักเรียนมีคะแนนมโนมติก่อนเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คิดเป็นร้อยละ 16.08 นักเรียนมีคะแนน มโนมติหลังเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 22.77 คิดเป็นร้อยละ 75.90 และจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ นักเรียนมีคะแนนมโนมติก่อนเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 5.10 คิดเป็นร้อยละ 17.01 นักเรียนมีคะแนนมโนมติหลังเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 16.68 คิดเป็นร้อยละ 55.60
2. มโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่ามโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนมีคะแนนมโนมติหลังเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 22.77 คิดเป็นร้อยละ 75.90 และจากการจัดการเรียนรู้แบบปกตินักเรียนมีคะแนนมโนมติหลังเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 16.68 คิดเป็นร้อยละ 55.60
3. จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานพบว่ามโนมติที่ได้รับการพัฒนามากที่สุด ได้แก่เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความดัน อุณหภูมิ ปริมาตรและจานวนโมเลกุลของแก๊ส โดยนักเรียนมีมโนมติถูกต้อง (SU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน ร้อยละ 70 และจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ พบว่ามโนมติที่ได้รับการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ เรื่องผลของอุณหภูมิและความดันที่มีต่อปริมาตรของแก๊สโดยนักเรียนมีมโนมติถูกต้อง (SU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน ร้อยละ 24.79
4. จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานพบว่านักเรียนมีมโนมติคลาดเคลื่อน (SM) มากที่สุด ได้แก่ เรื่องการจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง และจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ พบว่านักเรียนมโนมติคลาดเคลื่อน (SM) มากที่สุด ได้แก่เรื่องการระเหยของของเหลว
References
Abraham, M.R., Grzybowki, E.B., Renner, J.W. & Marek, E.A. (1992). Understanding and misunderstanding of eighth graders of five chemistry concepts found in textbooks. Journal of Research in Science Teaching, 29(2),105-120.
Barak, M. & Hussein-Farraj, R. (2013). Integrating Model-Based Learning and Animations for Enhancing Students' Understanding of Proteins Structure and Function. Research in Science Education, 43(2), 619-636.
Bootvisate, P., Pathommapas, N. & Muangpatom, C. (2015). The Development of Model-Centered Instruction Sequence Learning Management on Chemical Bond Concepts of Matthayomsuksa 4 Students. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 6(2), 157-174. [in Thai]
Buckley C, B.e.a. (2004). Model-Based Teaching and Learning with Bio Logica TM: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know?. Journal of Science Education and Technology, 13(1),23-41.
Carin, A.A. & Bass, J.E. (1997). Teaching Science as Inquriy (9thed). New Jersey: Merrill Prentice Hall.
Dechakhup, P. (2010). Science teaching behavior (2nd ed). Bangkok: Institute of academic development (IAD). [in Thai]
Department of Academic. (1992). Curriculum for Secondary education in 1990 (revised edition in 1998). Bangkok: Religion Press. [in Thai]
Faikhamta, C., Boonsawansong, P. & Roadrangka, V. (2006). Surveying knowledge of chemistry content of science students. Kasetsart Journal of Social Sciences, 27(1), 27-38.[in Thai]
Gobert, J. D., & B.C. Buckley. (2002). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.Retrieved from http://zeus.physics.auth.gr//edutech_2007/yliko/modelling/modelling_3.pdf.
Halloun, I. (1998). Schematic Concepts for Schematic Models of The Real World : The Newtonian Concept of Force. Science Education, 82, 239-263.
Hestenes, D. (2006). Notes for a Modeling Theory of Science, Cognition and Instruction.In Berg, E., Ellemeijer, T. and Sloonten, O. Proceeding GIREP Conference 2006: Modeling in Physics and Physics Education. University van Amsterdam. Amstel Institute, Faculty of Science.
Ibrahim, B. B. (2009). Model-based teaching and learning of kinematics in an introductory physics course for underprepared students. (Doctoral dissertation).University of Cape Town, Faculty of Science, Department of Physics.
Kawatkul, A., Prommas, C. & Chaipraser, P. (2015). Effects of Learning on Biomolecule using Model-Base Learning to Develop Scientific Conceptions and Constructing Scientific model ability for Mathayousuksa six students. Journal of Education, 26(2), 42-55. [in Thai]
Kenyon, L., C. Schwarz, & B. Hug. (2008). The benefits of Scientific modeling. (n.p.). pp 41-44.
Klainil, S., Dechsri, P. & Pramojanee, A. (2008). Scientific knowledge and competency For tomorrow's world: Learning Assessment Report from the International Student Assessment Program (PISA 2006).Bangkok: The Institute for the Promotion ofTeaching Science and Technology. [in Thai]
Lomarak, T. (2013). Handout for science teaching behavior courses. Buriram: Education Faculty of Buriram Rajabhat University. [in Thai]
Ministry of Education. (2008). Core Curriculum for Basic Education in 2008. Bangkok: Shipping and Packing Organization.[in Thai]Ministry of Education. (2017).Indicators and Core Learning Areas of Science. Bangkok: Shipping and Packing Organization.[in Thai]
Najang, K. (2011). Effects of using Model-Centered Instruction Sequence on ability in making Scientific Model and Concepts of Laws of Motion and Types of Motion of Upper Secondary School Students. (Master’s Degree Thesis).Chulalongkorn University, Faculty of Education, Curriculum and Instruction department, Science Education Program. [in Thai]
National Institute of Educational Testing Service. (2018). Summary of Ordinary National Educational Test 2017. Retrieved from http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2560.pdf. [in Thai]
National Institute of Educational Testing Service. (2018). Report of Ordinary National Educational Test of Mathayomsuksa 6 Students in Academic Year 2016. Retrieved from http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx. [in Thai]
National Science Education Standards. (1996). Washington, DC: National Academy Press.
Nuangchalerm, P.(2013). Teaching and learning research(2nd ed). Bankok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Nujenjit, N. (2016) Enhancing Science Student Teachers’ Understanding of ScientificConcept in Topic of “Lunar Phenomena” Using Model-Based Learning with Socratic Method. Kasetsart Education Review, 31(3), 22-33. [in Thai].
Parinthawong, I. & Termtachatipongsa, P. (2014). Scientific Conceptual Change of Grade 7Students on Force and Motion Using Hewson & Hewson’s (2003) Conceptual Change Strategies Incorporated with Formative Assessment. Journal of Education Khon Kean University, 37(2),172-179. [in Thai]
Pasumart, S., Khaomek, P. & Sukprasertchai, T. (2015). Using Model-Based Learning (MBL) with Predict-Observe-Explain (POE) to Correct Scientific Misconception of Grade 10Students’ on Covalent Bonding : The National and International Graduate Research Conference 2016. Retrieved from https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/HMO15.pdf. [in Thai]
Pongpeera, J. & Nuangchalerm, P. (2017). Learning Management Model for Changing Misconceptions in Science for High School Students. Ratchaphruek Journal, 15(2), 24-35. [in Thai]
Rompayom Wichaidit, P.(2015). Nature of chemistry and performing and instruction to be consistent with its nature. Srinakharinwirot Science Journal, 31(2), 187-199. [in Thai]
Schwarz, C.V. & White, B.Y. (2005). Metamodeling Knowledge: Developing Students’ Understanding of Scientific Modeling. Cognition and Instruction. 23(2),165-205.
Srichiangha, C. (2011). Developing Grade-11 Students’ Conceptions about Chemical Equilibrium and Attitude Towards Chemistry Through Model-Based Learning Activities. (Master’s Thesis). Kasetsart University, Faculty of Education, ScienceEducation.[in Thai]
Srisa-ard, B. (2003). Research Primary. Bangkok: Suveeriyasan. [in Thai]
Tanya, S. (2013). Educational Research Methodology. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [in Thai]
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2016). PISA assessment summary 2015. Retrieved from https://pisathailand.ipst.ac.th/isbn-9789789955918/. [in Thai]
Treagust, D & Duit, R. (2008). Conceptual change: A discussion of theoretical, methodological and practical Challenges for science education. Cultural Studies of Science Education, 3, 297-328.
Trilling, B. & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills : Learning for Life in Our Times. California: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)