การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน วิชา ชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ นาควารี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สัญชัย พัฒนสิทธิ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก, การสังเคราะห์โปรตีน, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน วิชา ชีววิทยา, 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จากการใช้การ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน,3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จำนวน 39 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน วิชา ชีววิทยา, 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อสำหรับผู้เชี่ยวชาญ, 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิกของนักเรียน, 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยง เบนมาตรฐานและ t-test Dependent

           ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการ์ตูนแอนิเมชันอินโฟกราฟิก เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน วิชา ชีววิทยา ด้านเนื้อหามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.75 และด้านการผลิตสื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากที่ค่าเฉลี่ย 4.65, 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้สื่อของนักเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับที่มากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.53

 

 

References

Kribkeaw, S. (2016). An animation for enhancing learning the weather phenomenon in a topic of miraculous sky drips for Mathayomsuksa 1 students at Kalayanee Si Thammarat School. Retrieved fromhttps://www.academia.edu/34467060/.[In Thai].

Ministry of Education. (2010). National Education Act B.E. 2542 Amendment (Vol.3) B.E. 2553.Bangkok: Prikwan Graphic. [in Thai].

Ministry of Education. (2017). National Education Plan Act B.E 2560 Amendment (Vol.3) B.E. 2553. Retrieved from http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf/.[in Thai].

Pantaisong, N. & Kulwong,S.(2016). “2D CAI to Improve Science Skill Water Resource for Grade 3 Case Study: Ban Nongsano School” The 2ndNational Conference on Technology and Innovation Management,2(2), 443-449. [In Thai].

Srisa-ad, B. (2015). Interpretation of the data collected by rating-scale tools in research. Mahasarakam: Srinakharinwirot Mahasarakam University. [in Thai].

Ruangwilai, L. &Terdbaramee,D. (2019). “The development 2D graphic animation about drug prevention to 9th grade students of Rajawinitbangkaepankhum school by technique of hypothetical situation” The 15thKU-KPS National Conference,18(15),595-602. [In Thai].

Seels, B. & Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions (2nd. ed.). OH:Columbus. Prentice Hall.

Siphai, S. & Sinlarat, P. (2018). "Thailand's Educational Transformation towards Education 4.0". Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University,24(2), 13-27. [In Thai].

Thetsana, J. (2015). Infographic.Retrieved fromhttp://www.krujongrak.com/infographics/ infographics_information.pdf/.[In Thai].

Thongrakjan, K.Rattanaphant, T. & Klinmalee,R.(2019). “Animation Development for Computing Science "Digital Citizen" of Grade 4, Banhuayhan School” The 16thKU-KPS National Conference,16(16), 586-596. [In Thai].

Uayporn, P., Sayamon, I.& Ingard, S. (2017). “The Effects of the Use of Infographic and Cooperative Learning Through Utilizing The Jigsaw II Technique for Enhancing Creativity in Matthayom Sueksa Three Students in the Social Studies, Religion and Culture Learning Strand.” Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(2), 572-582. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31