การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพดในเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนผิวโลก

ผู้แต่ง

  • อนิต้า หล้าจิ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  (5Es), มโนมติทางวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การเรียนรู้เกิดจาก กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองและจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผ่านการจัดการเรียนรู้ที่มีการใช้นวัตกรรมร่วมด้วยอย่างเหมาะสม ดังนั้น วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนมติของนักเรียนสู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องโดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่โดยใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสะท้อนการคิด และการทำงานเป็นทีม รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) เป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 1 ห้องเรียน จำนวน 22 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ (1) กลุ่มวิจัยเป็นนักเรียนที่ลงเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 (2) ผู้วิจัยมีบทบาทเป็นครูผู้สอนในห้องเรียนนี้ (3) นักเรียนมีความเต็มใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระยะเวลา 1 ภาคเรียนและมีการเก็บข้อมูลวิจัย ได้จากแบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ แบบสะท้อนการเรียนรู้ของนักเรียน แผนผังมโนมติและแบบสะท้อนคิดของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นหลักและการวิเคราะห์เชิงสถิติเป็นรองผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีการพัฒนาจากมโนมติที่คลาดเคลื่อน สู่การมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ในเรื่องโครงสร้างของโลก และสามารถเชื่อมโยงการอธิบายมโนมตินี้กับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาตินอกจากนี้ ผลการวิจัยได้นำเสนอรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ในแต่ละขั้นตอนของวงจรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ข้อเสนอแนะของการวิจัย เรื่องความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ที่ต้องอาศัยเวลาและการเปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้กำหนดประเด็นที่สนใจด้วยตนเอง

References

ประภาศรี เอี่ยมสม. พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. และ วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง. (2558). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการใช้แผนผังแนวคิด. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). ผลการประเมินนักเรียนระดับชาติโครงการ PISA. ปี 2015.
กรุงเทพ: ส เจริญการพิมพ์.
สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.
พ.ศ.2560-2564. ม.ป.ท.:ม.ป.พ.
สุวิมล ว่องวานิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Creswell, J. W.;& Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting mixed methods research. 2nded.
Thousand Oaks, CA: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15