การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพระดับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้แต่ง

  • ภัสราภรณ์ สหะกิจ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ  ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การศึกษาชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อส่งเสริมส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มวิจัยเป็นเครือข่าย โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” ที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดพังงาที่มีครูทั้งโรงเรียน จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1) แบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผลของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบการสังเกตการการปฏิบัติในชั้นเรียน ผลการวิจัยวิเคราะห์โดยข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยผลการวิจัย พบว่า ครูมีการพัฒนาทางด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องครูได้มีการสะท้อนผลผ่านกระบวนการ PLC เพื่อสะท้อนผลของการปฏิบัติตั้งแต่การออกแบบบทเรียนร่วมกัน 2) ผลการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ไปในทางที่ดี โดยผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งนักเรียนต้องถูกกระตุ้นทั้งทางสติปัญญา ทางกาย และทางร่างกาย 3) ผลการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียนผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ครูได้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ปฏิบัติได้จริงในห้องเรียน และสื่อนวัตกรรมที่กระตุ้มนการคิดของนักเรียน อีกทั้งครูได้วิธีการสอนที่ใช้เทคโนโลยีร่วมในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ

 

 

 

References

References
Bredeson, P.V. 2003. Designs for Learning: A New Architecture for Professional Development in
School. Thousand Oakes,CA: Corwin Press, Inc.
Charmaz, K. 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide through Qualitative
Analysis. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
DuFour, R., Eakey, R., and Many, T. 2006. Learning by Doing. A Handbook for Professional
Learning Communities at Work. Bloomington, IN: Solution Tree Press.
Kanold, T.D. 2011.The Five Disciplines of PLC Leaders. Bloomington, IN: Solution Tree.
Ministry of Education (MOE). 2010. MOE to Enhance Learning of 21st Century Competencies and
Strengthen Art, Music and Physical Education. (Online). From: http://www.moe.gov.sg/media/ press/2010/03/moe-to-enhance-learning-of-21s.php.
Anutsara, S. (2015). Management Strategies to Enhance Professional Learning Communities for Teachers in Private Schools. Master Thesis of Education, Chulalongkorn University. [In Thai]
Vichan P. (2011). Teacher learning for pupils in the 21st century. Bangkok: Siam Com mercial
Foundation. [In Thai]
Wassana, T (2017). Factors Affecting the Professional Learning Community of Teachers in
Secondary Schools. Master Thesis of Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [In Thai]
Woralak C. (2014). A Model of Professional Learning Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Master Thesis of Education, Prince of Songkla University Pattani Campus. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-10-2020