กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคสตอรีไลน์ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันดิจิทัล เรื่องการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562

ผู้แต่ง

  • ภาสกร บุตรศรี สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พนิต เข็มทอง ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เทคนิคสตอรีไลน์, แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา, การรู้เท่าทันดิจิทัล, การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคสตอรีไลน์ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เรื่องการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสะท้อนการเรียนรู้ของนักเรียนแบบรายบุคคล 3) แบบสะท้อนการเรียนรู้ของนักเรียนแบบรายกลุ่ม 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน และ 5) แบบทดสอบความรู้ ผลวิจัยพบว่า

1) ความรู้ความเข้าใจการรู้เท่าทันดิจิทัล เรื่อง การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ หลังกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.75 ซึ่งผ่านเกณฑ์สมมติฐานที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม เรื่องการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของกลุ่ม เมื่อพิสูจน์สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ พบว่า ในทุกกิจกรรมมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์สมมติฐานที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นกิจกรรมที่ 2 (เท่าทันความจริง) ที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์สมมติฐานที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) จากการวิเคราะห์แบบสะท้อนการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนเข้าใจถึงผลกระทบในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รู้จักตรวจสอบความน่าเชื่อถือ วิเคราะห์และไม่ตัดสินข้อมูลอย่างไม่มีเหตุผล และมีทัศนคติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ว่าไม่ใช่การกระทำ
ที่ถูกต้อง มองว่าไม่ควรกระทำตนเข้าข่ายลักษณะของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ทั้งการระวังการพูด การตัดสินผู้อื่นอย่างเป็นกลางและไม่มีอคติ หรือเพียงความคิดและมุมมองของตนเองเท่านั้น

References

Archaphet, N. (2017). Cyberbullying: Aggressive Misbehavior and Innovation for Solution. The Journal of Social Communication Innovation, 5 (1), 100-106. [In Thai]

Bereau of Academic Affairs and Education Standards Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Press of The Agricultural Co-operative Federation Of Thailand.,LTD. [In Thai]

Duangjai, W. & Art-in, S. The Development of Learning Activities of Buddhism Subject in Social Study, Religion and Culture Learning Area for Mathayom Suksa II Students By Using A Storyline Method. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 5 (2), 93-99.[In Thai]

Intanont, S. & Sermsinsiri, P. (2018). The Study of How Youth Can Protect Themselves From Cyberbullying. UTCC Academic Day No.2, Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce. [In Thai]

Komcharoen, P. & Polnigongit W. (2018). Children and Digital Literacy. The Journal of Social Communication Innovation, 6 (2), 22-31 [In Thai]

Pansuwan, N. (2012). The effects of learning by Using Role-Playing Computer Games and Storyline Teaching Method of MathayomSuksa 3 Students towards Learning Achievement and Analytical Thinking Ability. Veridian E-Journal, 5 (2), 538-553 [In Thai]

Pinnate, U. (2013). The development of the learning achievement and problem solving ability of buddhist doctrines by storyline method for Mathayomsuksa three student. Veridian
E-Journal, 6 (1), 361-372 [In Thai]

Phoemkhuen, A. (2017). Applying Contemplative Education to Develop Student Quality in Civid Duty Courses at Darapittayakom School, Uttaradit Province. Journal of Education Naresuan University, 19 (4), 265-275. [In Thai]

Rattanarat, N. (2018). Guidelines on protecting victims of Cyberbullying. Local & Global Sustainability: Meeting the Challenges & Sharing the Solutions No. 9, Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [In Thai]

Rumpagaporn, M. (2015). Contemplative Education Concept to Practice. Bangkok: Prikwan Graphic.,LTD. [In Thai]

Sahatsapas, T. (2018). Thai children being school bullied as the 2nd of the world. Retrieved from https://news.thaipbs.or.th/content/275069 [In Thai]

Samoh, N. (2014). Youth Perceptions on Cyberbullying. Journal of Behavioral Science for Development, 6 (1), 351-364. [In Thai]

Sintapanont, S. (2011). Teaching methods on Education reform for develop youth’s quality. Bangkok: Technicque Printing. [In Thai]

Sirisomrutai, C. (2017). Perception Attitude and Behavioral Intension. Master of Communication Arts (Strategic Communications). Bangkok: Bangkok University. [In Thai]

Surat, P. (2018). Causes and effects related with Cyberbullying: A case study of Cybervictim Thai Youths. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 4 (1), 260-273. [In Thai]

Techataweewan, W. & Prasertsin, U. (2017). Digital Literacy Assessment of the Undergraduate Students of the Universities in Bangkok and Its Vicinity. Journal of Information Science, 34 (4),
1-28

Wongwanich, S. (2017). Classroom Action Research. (19th Edition) Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15