การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน
คำสำคัญ:
เทคนิคเพื่อนคู่คิด, เกมมิฟิเคชัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนในการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน 2) ศึกษาความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัด การเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสระเกศ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม
จากทั้งหมด 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยเป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และ ร้อยละของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียน พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนและคะแนนการทดสอบหลังจากสิ้นสุดการทดลองไปแล้ว 2 สัปดาห์ของนักเรียนไม่แตกต่างกัน และ 3) นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน
References
Gamification Concept in Mathematics to Enhance Learning Achievement and Retention of Fourth Grade Students with Different Learning Abilities. Dissertation of Master of
Mathematics Education in Chulalongkorn University. [in Thai].
Chongdarakul, S. (2011). Strategies for Quality Secondary Management.
Academic Journal, 4(1), 83-95. [in Thai].
Kapp, K. M. (2012). The Gamification of Learning and Instruction: Game Based Methods and Strategies for training and Education. San Francisco: CA L Pfeiffer.
Ministry of Education (MOE). (2017). Learning standards and indicators for learning
Mathematics, Science, and Geography in the group of learning, social studies,
Religion, and culture (Revised version 2017) according to the Core Curriculum
of Basic Education, B.E. 2008. Bangkok: Printing Company Limited Agricultural
Co-operative Federation of Thailand., Ltd. [in Thai].
Moonkam, O and Moonkam, S. (2002). 19 Techniques of Learning Management for
Developing Knowledge and Skill. Bangkok: Pappim. [in Thai].
National Institute of Educational Testing Service. (2018). The Basic Statistics of
Ordinary National Educational Test (O-NET), Mathayomsuksa One,
Academic Year 2018. Retrieved from. http://www.niets.or.th. [in Thai].
Prasomsart, N., Sornboon, S., and Anganapatrakajorn, V. (2019). The Effects of
Mathematics Learning Management on Active Learning with Think-Pair-Share
Technique toward Mathematical Problem Solving Ability and Learning
Achievement for Mathayomsuksa Three Students. MBU Education Journal,
7(2), 495-508. [in Thai].
Trilling, B and Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.
Yoopensuk, J. (2007). Peer Tutoring. Bangkok: WJ Properties. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)