การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและศึกษาพฤติกรรม การอ่านภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ผกา ประเสริฐสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ยุพิน ยืนยง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้อ่านแบบ SQ3R

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5         ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R 2) ศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้     การอ่านแบบ SQ3R และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ (แก่งกระจานอนุสรณ์ 1) อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย  ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( =23.22 , S.D. = 17.78) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 9.44 , S.D = 11.94) 2) พฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R อยู่ในระดับดีเยี่ยม 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

References

เอกสารอ้างอิง
กัญญา ร้อยลา. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่าน 5 ขั้นตอน (SQ3R) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิราภรณ์ สกุลเหลืองอร่าม. (2554). “ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิชาภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไผดำพิทยาคมรัชมังคลาภิเษกระหว่างกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิคSQ3R กับกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิค KWLH-Plus.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ณฐมน วงศ์ทาทอง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยวิธสีอนอ่านแบบ SQ3R โดยใช้ข้อมูลอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณันท์ขจร กันชาติ. (2550). ผลของการสอนอ่านแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยราชภัฏกำแพงเพชร.
ประหยัด ภูมิโคกรัตน์. (2553). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. นครราชสีมา. โปรแกรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2553). ปัญหาการศึกษาในเด็กและเยาวชนไทย. สืบเมื่อ 3 มิถุนายน 2562
วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจใน การอ่านและศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดตะปอนน้อย จังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา, ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.
วิทยากร เชียงกูล. (2555).จิตวิทยาวัยรุ่น:ก้าวข้ามปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านบวก.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสภา เจริญยิ่ง. (2556). กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุรชัยการพิมพ์
Baier, Kylie. (2011). The Effects of SQ3R on Fifth Grade Students' Comprehension Levels. Bowling Green State University. Retrieved on June 15, 2019
From https://etd.ohiolink.edu/ap:10:0:: NO:10:P10_ETD_SUBID:49643
Carr, E. and Ogle, D. (2004). K-W-L Plus : A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30, 626-631.
Rubin. (2001). A critical reader : Malden Mass. Balackwell.
Dechant,Emerald V.1982.Improving the Teaching of Reading.Englewood Cliffs,NJ:Prentice –
Deese, J, & Deese, E.K. (1979). How to study (3 rd ed.). New York : McGraw Hill.Hall,Inc.
Good, Carter V. (1972). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
Harris, Larry A. & Smith, Cale B. (1986). Reading Instruction. New York : Holt,
Rinehart & Winston.
Hedberg, Kristina. (2002). Using SQ3R Method with Fourth Grade ESOL Students. Retrieved on June 17, 2019
from http://gse.gmu.edu/research/tr/arti cles/sq3r_method/sq3r/
Robinson, F.P. (1970). SQ3R: Effective study (4th ed.). New York: Harper & Row.
Suci, Nurmiasih, (2012). The Effectiveness of SQ3R Technique on Students’ Reading Achievement on the Eighth Grade students at MTs Miftahul ‘Ula (MTsM) Nglawak Kertosono in Academic 2012/2013.
Wright, Diana Brown. (2003). SQ3R Reading Strategy. Retrieved on June 5 , 2019 from http://www.pent.ca.gov/acc/SQ3 Rmethodofstudy.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31