การเรียนรู้กระบวนการทํางานออกแบบผ่านโครงการออกแบบอาหาร

ผู้แต่ง

  • อรช กระแสอินทร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์, กระบวนการออกแบบ, การศึกษาด้านการออกแบบ, การออกแบบอาหาร, การออกแบบร่วมกัน

บทคัดย่อ

ในการเรียนออกแบบสถาปัตยกรรม นิสิตจะได้รับมอบหมายโครงการเพื่อทํางานศึกษา กําหนดโครงการพัฒนาแนวคิด แบบร่างและทํางานออกแบบสุดท้ายจนเสร็จสิ้น โดยผลงานที่ได้ทําคือภาพงานออกแบบและหุ่นจําลองที่มีคณาจารย์เป็นผู้ให้คําชี้แนะและแก้ไขแบบระหว่างการพัฒนาแนวคิดและแบบในทุก ๆ ขั้นตอน และให้ผลงานออกมาสมบูรณ์มากที่สุด ที่นิสิตจะได้รับการ
สะท้อนผลการทํางานผ่านคะแนนที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนดังกล่าวก็มีข้อจํากัด เนื่องด้วยสถาปัตยกรรมเป็นงานที่ต้องก่อสร้างจริงและมีประสบการณ์จริงในการเข้าไปใช้จึงจะได้สะท้อนผลการออกแบบอย่างแท้จริง การตรวจแบบของคณาจารย์จึงเป็นการสะท้อนผลการทํางานของนิสิตผ่านความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์และเพื่อเป็นการทดสอบกระบวนการเรียนรู้ด้านการออกแบบที่มีระยะการทํางานที่สั้นและมีผลงานจริงที่สําเร็จและสะท้อนผลงานได้ด้วยตนเอง จึงนําเอาโครงการออกแบบอาหารมาเป็นเครื่องมือเพื่อให้นิสิตในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้เรียนรู้การทํางานออกแบบที่ได้มีกระบวนการผลิตหรือทําผลงานออกมาเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงโดยทํางานร่วมกับนิสิตจากคณะอุตสาหกรรมเกษตรในโครงงานนี้ซึ่งผลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์นิสิตที่ได้เข้าร่วมโครงการออกแบบอาหารนั้น พบว่านิสิตแสดงความเห็นถึงการได้เรียนรู้ถึงการทํางานร่วมกับบุคคลในศาสตร์อื่น เข้าใจถึง
การนําแนวคิดมาสู่ผลงานที่แท้จริงที่สะท้อนผลของการทํางานออกแบบได้โดยตรงนอกเหนือจากการตรวจแบบในชั้นเรียน

References

Faculty of Architecture, Kasetsart University. (2016). Bachelor of Architecture degree program (2016 Curriculum). Retrieved from: https://eduserv.ku.ac.th/academics2008/PDF/ku/arch/B_Arch/59_Cur.pdf.

Bielefeld, B., & El Khouli, S. (2017). Basics Design Ideas. Basel: Birkhäuser.

Traiwat, V. (2015). Architectural Management. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. [in Thai].

Ponn, V. (2017). Anatomy of Fee. Bangkok: Li-zenn Publishing. [in Thai].

Association of Siamese Architecture. (2019). Architect Expo 2019: Living Green. Retrieved from: https://asa.or.th/architectexpo [in Thai].

Supang, C. (2006). Qualitative Research Methodology. Bangkok. Chulalongkorn University Publishing. [in Thai].

The Secretariat of the House of Representatives. (2013). New Parliament Construction Project. Retrieved from: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/main.php?.

Herstatt, C. & Verworn, B. (2004). “The 'Fuzzy Front End' of Innovation", in Bringing Technology and Innovation into the Boardroom: Strategy, Innovation and Competences for Business Value. London: Palgrave Macmillan.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988).The Action Research Planer (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall.

Sanders, E. & Stappers, P. (2008). Co-creation and the new landscapes of design. Co-design. 4: 5-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30