การบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมพงษ์ กลยา หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อรรณพ จีนะวัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทัสนี วงศ์ยืน ข้าราชการบํานาญ

คำสำคัญ:

การบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, แผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารคุณภาพ สู่ความเป็นเลิศของ
โรงเรียน ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ 2) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ และ 3) นําเสนอแนวทางการยกระดับการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จํานวน 83 โรงเรียน เป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจํานวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษาให้ความสําคัญกับการปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ ในภาพรวม มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัญหาการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และ
3) แนวทางการยกระดับการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย การยกระดับความเข้มข้นของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์กระบวนการนําแผนสู่การปฏิบัติการให้ความสําคัญแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดทํา
รายงานแสดงมิติผลลัพธ์ของการดําเนินการของโรงเรียนสู่สาธารณะ

References

Dangpraphi, S. (2011). A Study of guidelines to an elevation of an Internal quality assurance based on the Education Criteria for Performance Excellence of Large Private Educational institutions in Bangkok. Master of Science in Education Executive Education Division, Faculty of Administration Excentive Chulalongkorn University. [in Thai].

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge, MA: MIT Press.

Faulkner, J. B. (2002). Baldrige Educational Quality Criteria as Another Model for Accreditation Community Collages. Retrived from http://www.lib.umi.com/dissertations/results?set_num=1.

Hooper, M. A. (2004). Using The Baldrige criteria to strengthen educational leadership system: The development and validation of a 360 degree feedback instrument. Retrieved from http://www.lib.umi.com/dissertations/results?set_num=1.

Juran, J. M. & Gryna, F.M. (1993). Quality planning and analysis : From product development through use. 3nded. New York: McGraw – Hill.

Manchamnan, N. (2016). School Administration to Learning Organization. Kasetsart Educational Review, 31 (2), 7 - 13. [in Thai].

Muangkaen, S., Mongkhonvanit, J., and Kunaruk, P. (2015). The Role of Organization Culture that affects to High Performance in Thai Private Universities. Kasetsart Educational Review, 33 (1), 41 - 49. [in Thai].

Rungrueangpratchaya, P., Rumpakaporn, M.W., Tantawutho, V. & Larbkasorn, P. (2015). Leadership and School Organization Management. Kasetsart Educational Review, 33 (2), 35 - 42. [in Thai].

Srijarean, N. (2016). The Relationship between Academic Leadership of School Principals and National Quality Assurance Operation in School under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office. Kasetsart Education Review, 32 (3), 73 - 79. [in Thai].

Ugsonkid, S., Tanak, A., Jantarakantee, E., Koolsriroj, U., Sumalee, S. & Wichitputchraporn, W. (2015). The Development of Teachers, School Administrators. Kasetsart Educational Review, 30 (2), 83 - 92. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019