อัตลักษณ์นักศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ผู้แต่ง

  • ศิษฎ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ฐานกุล กุฏิภักดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และการส่งเสริมอัตลักษณ์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จากภาคีผู้เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า อาจารย์ประจําสาขา และนักศึกษาปัจจุบัน กลุ่มละ 3 คน รวม 4 กลุ่ม ทําให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษารวม 12 คน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) อัตลักษณ์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้แก่ มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษามลายู มีจิตอาสา เก่งการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย และมีเครือข่ายทางธุรกิจ 2) การส่งเสริมอัตลักษณ์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตด้านรายวิชาเรียนควรเพิ่มวิชาการจัดการการตลาดสมัยใหม่ โดยเน้นการมีเครือข่ายทางธุรกิจซึ่งเป็นสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ส่วนวิชาเอกเลือกควรเพิ่มรายวิชาดังนี้ ภาษาอังกฤษและภาษามลายูซึ่งภาษาทางการที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย นอกจากยังเป็นภาษาทางการที่ใช้กับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนอีกหลายประเทศ และวิชาการจัดการตลาดระหว่างประเทศและอาเซียนเนื่องจากสามจังหวัดชายแดนภาค ได้แก่ จังหวัด ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีความใกล้ชิดกับประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์และประเทศอินโดนีเซียมีการทําการค้าชายแดนกันมาโดยตลอด 3) การส่งเสริมอัตลักษณ์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมศึกษาดูงานนอก สถานที่เป็นเปิดโลกทัศน์ให้กับนักศึกษาได้เห็นจากสภาพ
การปฏิบัติงานจริง กิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการการค้าชายแดน (ระหว่างไทย – มาเลเซีย) เป็นการเปิดช่องทางการตลาดระหว่างประเทศในการเจรจาแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน กิจกรรมจิตอาสาร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ และนายด่านชายแดน โดยการอบรมให้ความรู้กับธุรกิจการค้าชายแดนซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการธุรกิจ และควรจัดกิจกรรมสัมมนาวิจัยนานาชาติเกี่ยวกับธุรกิจชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์และผู้ประกอบการระหว่างประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวธุรกิจชายแดนไทย – มาเลเซีย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-29