การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
คำสำคัญ:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การเรียนรู้ด้วยตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยผู้วิจัยได้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การกําหนดขนาดของมิติ สําหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่ง ย่านบางซื่อ กรุงเทพมหานคร จํานวน 21 คน จากการวิจัยพบว่า คะแนนการทดสอบก่อนเรียนมีผลการเรียนต่ํากว่าเกณฑ์จํานวน 20 คน ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้จํานวน 1 คนและคะแนนการทดสอบหลังเรียน พบว่า ผลการเรียนต่ํากว่าเกณฑ์ 11 คน ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ 8 คน ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ระดับดี 2 คน ผลการทดสอบยังมีนักศึกษาบางคนยังคงมีผลการเรียนในระดับต่ํากว่าเกณฑ์อยู่อาจเนื่องมาจากความสามารถในการเรียนรู้เฉพาะบุคคลของผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และการจัดการศึกษาที่นักศึกษาเคยเรียนมาก่อน เป็นระบบการจัดการศึกษาในชั้นเรียน จึงอาจเป็นอีกเหตุผลที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นชินกับการเรียนในห้องเรียนมากกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามจากการวิจัยในครั้งนี้ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในภาพรวมและในแต่ละด้าน มีความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับพอใจมาก ถึงมากที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)