ความท้าทายในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติ: กรณีศึกษาจังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ศรีชมภู สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา นโยบายทางการศึกษา เด็กข้ามชาติ จังหวัดระนอง

บทคัดย่อ

ที่ผ่านมาแม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายทางการศึกษาที่เปิดกว้างและให้โอกาสกลุ่มเด็กข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนไทยมานานนับทศวรรษ แต่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาด้านความเชื่อมโยงของการนำนโยบายมาปฏิบัติใช้ การหาแนวทางเพื่อสร้างกรอบการดำเนินงานในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจนจึงยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายให้กับสังคมไทย บทความนี้ผู้เขียนจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเด็กข้ามชาติชาวเมียนมาในจังหวัดระนอง โดยใช้กรอบนโยบายการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทยและมาตรฐานแกนกลางการจัดการศึกษา มาวิเคราะห์ภายใต้บริบททางสังคมและความมั่นคงของชาติ ซึ่งพบว่า (1) การไม่มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายทางการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยของบุคคลที่เกี่ยวข้อง (2) การขาดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และ (3) ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานข้ามชาติ และทักษะทางภาษาไทยของเด็กข้ามชาติ เป็นอุปสรรคขัดขวางที่สำคัญที่ทำให้ไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามในจังหวัดระนอง ได้เข้าใจนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย (2) ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดระนองและพื้นที่ใกล้เคียง จัดทำข้อมูลสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม และสร้างกรอบการดำเนินงานจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ร่วมกัน และ (3) ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมมือกันช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในจังหวัดระนองในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทั้งต่อตัวเด็กข้ามชาติและประเทศไทย

Author Biography

อัญชลี ศรีชมภู, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยนักวิจัยในศูนย์เชื่อมโยงความรู้และการวิจัยนวัตกรรมด้านภัยพิบัติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกำลังศึกษาในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง "ทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย"   

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงชน (EFA) เกิดที่จอมเทียนคึกอีกครั้งที่จอมเทียน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562 จาก:
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22779&Key=hotnews
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2556). แนวทางการปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี สำหรับสถานประกอบการแปรรูปเบื้องต้น ในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเลในประเทศไทย. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมประมงและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก:
http://ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_221482.pdf
คณิต นิยะกิจ ชูศักดิ์ เอกเพชรและนิตยา กันตะวงษ์. (2558). กลยุทธ์การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเยาวชนพม่าในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-พม่า จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์ คณะศิลปะศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม พ.ศ.2558, 43-53.
เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ. (2558). สถานการณ์แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย พ.ศ.2558. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563 จาก:
http://un-act.org/wp-content/uploads/2016/01/IMD-2015-Report.25.12.2015-1.pdf
ทวีสิทธิ์ ใจห้าว. (2554). การจัดการศึกษาแก่ลูกแรงงานต่างชาติ : ภารกิจที่ท้าทาย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563 จาก:
https://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/36945-4531.pdf
ทีเอ็นเอ็น. (2560). ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-พม่า ยกระดับการศึกษา"เด็กข้ามชาติ". สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562 จาก: https://www.youtube.com/watch?v=NsQ8GY0O4r8
เปมิกา สนิทพจน์. (2560). ความมั่นคงด้านแรงงานของไทยกับอนาคตด้านการศึกษาของผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. ฉบับที่ 3 เล่มที่ 2 เดือนกรกฏาคม-ธันวาคม พ.ศ.2560, 1-10. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563 จาก: http://www.policecyber.com/journal/j4/j401.pdf
เปรมใจ วังศิริไพศาล. (2557). ทางเลือกนโยบายการศึกษาสำหรับบุตรแรงงานต่างชาติในประเทศไทยภายใต้บริบทอาเซียน: การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
มติชนสุดสัปดาห์. (2562). ทูตฯ เมียนมา หารือ‘หม่อมเต่า’กรณีปิดศูนย์เรียนรู้เด็กเมียนมา จ.ระนอง พร้อมขอลดค่าธรรมเนียมวีซ่าของคนต่างด้าวที่ขออยู่ต่อเป็นการชั่วคราว สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563 จาก: https://www.matichonweekly.com/publicize/article_227975
รัตนา จักกะพาก. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563 จาก:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/133/1/21.53260917% 20รัตนา%20จักกะพาก.pdf
สนิทสุดา เอกชัยและสุรพงษ์ กองจันทึก. (2559). ชีวิตของคนต่างด้าวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 133-136.
แสงเทียน คำปัญญา. (2558). สภาพปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายทางการศึกษา แก่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยของจังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2558, 142-153.
สุทัศน์ ศรีวิไล. (2556). ผลกระทบของแรงงานข้ามชาติต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายของประเทศไทย. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการฑูต รุ่นที่ 5 ปี 2556. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563 จาก:
http://www.mfa.go.th/dvifa/contents/filemanager/files/nbt/nbt5/IS/IS5070.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมคุณภาพ. (2560) ศูนย์การเรียนต่างด้าวโอกาสการศึกษา ที่ยังรอคำตอบกับภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก:
https://www.thaihealth.or.th/Content/ 36662-สสส.%20ตั้งศูนย์ดูแลสาธารณสุขลูกหลานแรงงานข้ามชาติ.html
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดระนอง. (2562). ข้อมูลการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562 จาก: https://www.ect.go.th/ranong/ewt_news.php?nid=43&filename=index
สำนักงานจัดหางานจังหวัดระนอง. (2563). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดระนอง ไตรมาส 2 ปี 2563 (เมษายน - มิถุนายน 2563). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก:
https://ranong.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/86/2020/08/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA-2-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2563.pdf
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการจัดการศึกษา สำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย และบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก: http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1633-file.pdf
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน คงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือนกันยายน 2563. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก:
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/31495033cced93b3951ed0cb6a0c691e.pdf
หฤทัย บัวเขียว และพลวิชญ์ ทรัพย์ศรีสัญจัย. (2561). สถานการณ์เด็กเคลื่อนย้ายในแม่สอด. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก: https://helpwithoutfrontiers.org › files › final_report_children_on_the_move.docx
องค์การช่วยเหลือเด็ก. (2557) เส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่าบทวิจารณ์เรื่องการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562 จาก:
https://resourcecentre.savethechildren.net/sites/default/files/documents/policy_brief_in_thai_version-final.pdf
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน. (2562). รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย พ.ศ.2562 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562 จาก:
https://thailand.iom.int/sites/default/files/document/publications/Executive%20Summary%20%28in%20Thai%29%20-%20Thailand%20Migration%20Report%202019.pdf
United Nations. (2015). Open Working Group proposal for Sustainable Development Goals. Retrieved January 14, 2020 form: https://sustainabledevelopment.un.org/focussdgs.html
Vungsiriphisal, P. (2011). The challenge of Education Policy for Migrant Children in Thailand from Security Standpoints. Kyoto Working Papers on Area Studies No.107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021