ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ของรัฐในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นลินทิพย์ มากเขียว สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นฤมล ศราธพันธุ์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชีพสุมน รังสยาธร ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน, การบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน และ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 และ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า นิสิตนักศึกษาเกือบสามในสี่เป็นเพศหญิง มากกว่าหนึ่งในสามมีอายุมากกว่า 20 ปีมากกว่าสี่ในห้าไม่เคยเรียนวิชาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ มากกว่าสามในห้าเล็กน้อยอาศัยอยู่กับบิดามารดา มากกว่าสองในห้ามีบิดาและมารดาประกอบธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระเกือบครึ่งหนึ่งมีบิดาและมารดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิสิตนักศึกษามีรายได้เฉลี่ย 7,979 บาทต่อเดือน เกือบครึ่งมีสมาชิกในครอบครัว 4 คน นิสิตนักศึกษา มากกว่าสองในสามเล็กน้อยรับรู้ข่าวสารการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนจาก Social media หรือ เว็บไซต์นิสิตนักศึกษาเกือบสามในห้ามีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนในระดับปานกลาง และมากกว่าสามในสี่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนในระดับบ่อยครั้ง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน การรับรู้ข่าวสาร และ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-10-2020