รูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ปัทมนันท์ หิรัญธีรวัฒน์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สฎายุ ธีระวณิชตระกูล สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปราชญา กล้าผจัญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คุณวุฒิ คนฉลาด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการคนเก่ง, ครูผู้มีสมรรถนะสูง, โรงเรียนเอกชนคาทอลิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพัฒนา และตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 และ 3 ใช้แบบสอบถามในการสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้มีสมรรถนะสูงโรงเรียนเอกชน คาทอลิก ในภาคตะวันออก 385 คน (ระยะที่ 1) และ 317 คน (ระยะที่ 3) และ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 12 คน (ระยะที่ 2) ประกอบด้วย อาจารย์ผู้มีตําแหน่งด้านบริหาร ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ภาคเอกชนและผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (xത) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S. D.) และค่าความถี่ (F) ผลการวิจัยพบว่าระยะที่ 1 ลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูง ในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียน เอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การประเมินศักยภาพ การอบรมและการพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลําดับระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูง ในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก พบว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความสําคัญกับการบริหารค่าตอบแทน การวางแผนสืบทอดตําแหน่งและการธํารงรักษาระยะที่ 3 การตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชน คาทอลิกในภาคตะวันออก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ การบริหารค่าตอบแทน การธํารงรักษา และการประเมินศักยภาพ ตามลําดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-10-2020