การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง การเลี้ยงกระบือ ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่สําหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • เนติรัฐ วีระนาคินทร์ สาขาวิชาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา, การออกแบบแบบมีส่วนร่วม, การเลี้ยงกระบือ, เกษตรทฤษฎีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่สําหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้วีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ สําหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) มีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาความต้องการรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง การเล้ียงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ สําหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 3) ศึกษาผลการใช้วีดิ
ทัศน์เพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จํานวน 450 คน จําแนกตามระยะการวิจัย ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จํานวน 400 คน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา จํานวน 12 คน และ 3) กลุ่มทดลอง จํานวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อความต้องการรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) แผนการจัดการเรียนรู้การอบรมระยะสั้น เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 4) วีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วม เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่สําหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 5) แบบประเมินคุณภาพรายการวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา 6) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิควิเคราะห์แบบสามเส้า ผลการวิจัยการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ผลการศึกษาความต้องการรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง การเลี้ยงกระบือตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความต้องการรูปแบบรายการสารคดี และใช้ภาษาราชการและภาษาท้องถิ่น
ผสมผสานกันในรายการ

2. ผลการพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา มีผลปรากฏ ดังนี้
2.1 ผลการออกแบบวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาต้นแบบ (Prototype Design) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) รูปแบบรายการ 2) เนื้อหา 3) การนําเสนอ และ 4) เทคนิคการผลิต มีกระบวนการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกําหนดประเด็นปัญหา
2) การวิเคราะห์คุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย 3) การประเมินความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4) การออกแบบ 5) การผลิต 6) การประเมิน และ 7) การเผยแพร่
2.2 ผลการประเมินคุณภาพวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านการนําเสนอ และด้านเทคนิคการผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการใช้วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 64.69 และความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่มีต่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-10-2020