การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • เอกธนัช แซ่จุ้ง ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ซึ่งเป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ซึ่งเป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60

References

Katwibun, D. (2018). Problem-Based Learning for Mathematics Teachers. Chiang Mai: JARUS Digital Print. (in Thai).
Khemmani, T. (2015). Teaching Science : Knowledge for Effective Learning Process Management. 19th ed. Bangkok: Darnsuthapress. (in Thai).
Klainil, S. (2012). Mathematics Education at School Level in Thailand : Development - Effect - Recession at Present. Samut Prakan: Advanced printing service. (in Thai).
National Council of Teachers of Mathematics. 1989. Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
National Council of Teachers of Mathematics. 2000. Principle and Standards for School Mathematics. Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
Phumee, W. (2012). The Effect of Problem - Based Learning Instruction Activities on “Ratio and Percentage” on Problem Solving Ability and Mathematical Reasoning Ability of
Mathayomsuksa Two Students. Master of Education Thesis in Secondary Education, Srinakharinwirot University. (in Thai).
Ruanrojrung, N. (2015). Problem-based instructional management to improve the academic achievement, diary life mathematical problem solving skills and attitude toward mathematical learning of Prathomsuksa Two students. Master of Education Thesis, Chulalongkorn University. (in Thai).
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, [IPST]. (2012). Mathematical Processes and Skills. 3rd ed. Bangkok: 3Q Media Co., Ltd. (in Thai).
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, [IPST]. (2018). Summary of PISA 2015 Assessment Result : Science, Reading and Mathematics, Excellence and Educational Equality. Bangkok: Success Publication. (in Thai).
Ugsonkid, S. (2012). Mathematical Problem Solving and Problem Posing. Bangkok: Vista Interprint. (in Thai).
Witsawawirawan, W. (2015). Effects of Problem - Based Learning Activities on Mathematical Problem Solving Ability and Reasoning Ability of Mathayomsuksa Three Students on Mathematical Processes and Skills” at Satthasamut School, Changwat Samut Songkhram. Master of Thesis in Teaching Mathematics, Kasetsart University. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31