การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • อริสรา ขันติโชติบริบูรณ์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงชัย อักษรคิด ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลในรูปของตาราง

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60

References

Chandra, C. (2006). "Problem-Based Learning: PBL Problem Solvers Creation Process." MY MATH 2(10): 47-50. [in Thai].

Poolsawat, C. (2008). A Comparison of Mathematics Learning Achievement of Prathomsuksa Five Students on “Percent” between Learning Activities by Using Problem-based Learning and Traditional Method at Kasetsart University Laboratory School, Multi-lingual Program,Center for Educational Research and Development, Chonburi Province. Educational thesis, Kasetsart University. [in Thai].

Thammabus, M. (2002). Development of learning quality using PBL (Problem-Based Learning). Academic Journal 5 (2): 11-17. [in Thai].

Ruen Rojrung, N. (2015). Problem-based Instructional management to improve the Academic Achievement, Daily life Mathematical Problem Solving Skill and attitudes toward Mathematical Learning of Prathom Suksa Two Students. Education thesis, Chulalongkorn University. [in Thai].

Office of the Education Council (2007). Learning management Problem-based Model. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai].

Thientong, S. (2010). Development of problem Solving Ability on Prathomsuksa Five Students by Using Problem-based Learning. (Thesis Master Degree), Program in Curriculum and Supervision Silpakorn University. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022