การใช้เทคนิคการสอนของอาจารย์สายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงการระบาดของไวรัสโควิดในประเทศระยะแรก

ผู้แต่ง

  • สุนิสา สิงห์แก้ว
  • ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การสอนช่วงโควิด-19 การสอน ออนไลน์ การสนับสนุนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา
ประสบการณ์การสอนในช่วงการระบาดของโรค Covid-19
ระยะแรก 2) ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการใช้
เทคโนโลยีและเทคนิคการสอนออนไลน์ และ 3) ศึกษา
แนวทางการจัดการสอนแบบออนไลน์เพื่อความเป็นเลิศของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยออกแบบการวิจัยด้วย
การสร้ างแบบสอบถ ามออนไลน์ส่งถึงอาจา รย์ สาย
สังคมศาสตร์ตามรายนามในเอกสารนามานุกรม และได้รับ
การตอบกลับจ านวน 64 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจง
ความถี่ หาค่าร้อยละ แปลความหมาย และบรรยายผลจาก
การส ารวจและสัมภาษณ์เพื่อประมวลประสบการณ์การสอน
และสะท้อนแนวทางการพัฒนาการสอนออนไลน์ในยุคนี้
ให้เป็นตัวอย่างของการจัดการสอนที่เข้าสู่รูปแบบใหม่
(New Normal) ในอนาคต
ผลการศึกษา พบว่า อาจารย์ที่มีวิชาสอนใน
ภาคปลาย จ านวน 64 คน มีผู้ใช้เทคโนโลยีจ านวน 56 คน
คิดเป็น ร้อยละ 87.5 เทคนิคการสอนที่ใช้2 อันดับแรก คือ
สอนแบบ Live สด ผ่านซอฟต์แวร์ไม่มีบันทึกเป็นวิดีโอ
คลิปให้ดูย้อนหลัง คิดเป็นร้อยละ 56.3 รองลงมา คือ
การสอนแบบ Live สด ผ่านซอฟต์แวร์ มีบันทึกเป็นวิดีโอ
คลิปให้ดูย้อนหลังได้คิดเป็นร้อยละ 17.2 ความต้องการ
พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีแล ะ เทคนิค ก า รสอน
ออนไลน์ พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี
ความต้องการรับการสนับสนุน 3 ด้าน คือ 1) การเพิ่ม
ทักษะออนไลน์ของผู้สอน 2) เพิ่มบุคลากรด้านไอทีที่มี
ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอ และ 3) จัดสถานที่ที่เหมาะสมกับ
การเรียนการสอนออนไลน์ส าหรับแนวทางการพัฒนาการ
จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อความเป็นเลิศของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากการสัมภาษณ์อาจารย์
ผู้สอน จ านวน 5 คน ที่ได้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ร่วม
ด้วย ได้เสนอแนะให้จัดรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ
Hybrid Learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการใช้สื่อออนไลน์
ร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียน จัดหลักสูตรอบรมการใช้สื่อ
และโปรแกรมส าหรับการสอนออนไลน์อย่างทั่วถึง และจัด
ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ผู้สอนใน
มหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31