แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา สีแดงก่ำ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุทธิพงศ์ บุญผดุง สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2) เสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 รวม 360 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสัดส่วนตามขนาดโรงเรียนเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและนำข้อมูลมาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Need Index (PNImodified) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์เนื้อหา สร้าง (ร่าง) แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีค่ามากที่สุด คือ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รองลงมา คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศการศึกษา การจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตามกระบวนการบริหารแบบ PIE Model ได้แก่ การวางแผน (Plan) การนำไปปฏิบัติ (Implementation) การประเมินผล (Evaluation) มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Buaphun, T. (2015). Proposed School Management Strategies to Enhance Creative Thinking Charateristics of Elementary School Students. (Doctoral Dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Charoenwongsak, K. (2013). The Creative Thinking. Bangkok: Success Media. [in Thai]

Chindanurak, T. (2015). The Creative Thinking in The Subject of Thought. Bangkok: Dhurakij Pundit University. [in Thai]

De Bono, E. (2004). Lateral Thinking for Management. A Textbook of Creativity : Harmondsworth, Middle : Penguin.

Lojananon, T. (2012). Leadership and motivation in work affecting creativity of employee a case study of Zuellig Pharma company limited. (The Master degree thesis of Business Administration). Silpakorn University. [in Thai]

Newby, T.J., Stepich,D.A., Lehman, J.D., Russel, J.D.,& Ottenbreit, L.A. (2011). Educational technology for teaching and learning (4th ed.). USA : Pearson.

Office of the Education Council Secretariat. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prikwan Graphic. [in Thai]

Panich, W. (2012). The ways to create learning for students in The 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. [in Thai]

Phanmanee, A. (2014). Practicing to be Integrative Thinking and The Creative Thinking. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Phuwidawat, S. (2002). Learner Centeredness & Authentic Assesment. Bangkok: The Knowlegge. [in Thai]

Sinthapanon, S. (2012). Develop thinking skills according to the education reform approach. Bangkok. Printing technique. [in Thai]

The Secondary Educational Service Area Office 1. (2019). The results of the 69th Student arts and crafts competition 2019. November 23, 2020. Retrieved form https://central69. sillapa.net/sm-bkk1 [in Thai]

Torrance, E. P. (1992). A National Climate for Creativity and invention. Gifted Child Today. 5(1): 10-14.

Wongwanich, S. (2015). Needs Assessment Necessary Research (3rd ed). Bangkok: V Print (1991). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022