ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช สมคิด สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุกัลยา สุเฌอ ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์, การใช้คำถาม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถาม 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถาม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถาม ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลทางการเรียนหลังเรียน ( gif.latex?\bar{x} =15.23, S.D.=2.02) สูงกว่าก่อนเรียน ( gif.latex?\bar{x} = 7.00, S.D. = 1.26) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ร่วมกับการใช้คำถาม ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน      ( gif.latex?\bar{x} = 9.60, S.D. = 0.88) สูงกว่าก่อนเรียน ( gif.latex?\bar{x} = 5.46, S.D. = 1.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Bamrugjit, P. (2018). The Effects of Learning Experience Focusing on Five Sense Towards the Critical Thinking Ability of Early Childhood Students. Master of Education Degree in Curriculum and Instruction. Nakhon Sawan : Nakhon Sawan Rajabhat University. [In Thai]

Bureau of Educational Testing. (2018). National Learner Basic Competency Test Report (National Test : NT) of students in grade 3 Academic year 2017. Retrieved from https://bet.obec.go.th

Bureau of Educational Testing. (2019). National Learner Basic Competency Test Report (National Test : NT) of students in grade 3 Academic year 2018. Retrieved from https://bet.obec.go.th

Christogonus O. N., Okechukwu, S. A., Omebe, C. A., Martha, I. A. N. (2014). Effects Experiential Teaching Method on Pupils’ Achievement in Basic Science and Technology. International Journal of Scientific & Engineering Research, 5(5), 875-880.

Khaemanee, T. (2016). The science of teaching knowledge for effective learning process. (20th Edution). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. (Vol. 1). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hal

Ministry of Education Thailand. (Ed.). (2009). Basic Education Core Curriculum B.A. 2008. Bangkok: Printing Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Ministry of Education Thailand. (Ed.). (2017). Learning Standards and Indicators of Science (Revised edition B.A. 2017)

Basic Education Core Curriculum B.A. 2008. Bangkok: Printing Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Muadthaisong, S. (2011). Critical Thinking Ability of Early Childhood Children Enhancing Out Door Science Process Activities. Master of Education Degree in Early Childhood Education. Bangkok: Srinakharinwirot University. [In Thai]

Munkham, S. (2010). Strategy ... teaching analytical thinking. (5th Edition). Bangkok: pakpim.

Ponglunhit, J. (2017). The Effects of Using Experiential Learning Management on Mathematical Problem Solving Skills and Connection Skills of Mathayomsuksa 3 Students. Thesis. Master of Education. Chon Buri: Burapha University. [In Thai]

Pornkul, Ch. (2014). Teaching Thinking Process Theories and applications. (3rd Edition). Bangkok: V.Print (1991) Co., Ltd. [In Thai]

Somboonmak, J. (2010). Development of Basic Science Process Skills of Early Childhood Children by Using the Children as Rescarchers and Questioning Techniques. Master Degree Thesis of Education Curriculum and Teaching. Songkhla: Thaksin University. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022