การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • บุษรินทร์ กุณามา สาขาวิชาการศึกษา (วิทยาศาสตร์ศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุทธิดา จำรัส สาขาวิชาการศึกษา (วิทยาศาสตร์ศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง, การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์, ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เรื่องความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส โดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับทางของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับทาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้งานการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ในรายวิชาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 13 คาบเรียน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกหลังสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ใบงาน/ใบกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ อนุทินแบบสะท้อนคิด 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊สที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิด 2 ลำดับ (2-tier conceptual test) คือ ลำดับที่ 1 สร้างคำถามที่มีคำตอบให้เลือก 1, 2, 3 หรือ 4 ตัวเลือก โดยมีคำตอบที่ถูกต้องเพียง 1 คำตอบ ที่เหลือ คือ คำตอบที่เป็นมโนมติที่คลาดเคลื่อน ลำดับที่ 2 ให้นักเรียนเขียนอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบดังกล่าว สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เรื่องความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส โดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับทางของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) การนำเข้าสู่ประสบการณ์ (2) การสำรวจความรู้เพื่อสร้างมโนทัศน์ (3) การสร้างความรู้ที่มีความหมาย (4) การสาธิตและประยุกต์ใช้ควรมีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ การวางแผนและปฏิบัติการทำกิจกรรมด้วยตนเอง การนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่น การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การนำเสนอผลการทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับครู การได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่ออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการถามคำถามเพื่อให้แสดงความคิดเห็น

2) ผลการพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้จากแบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ก่อนเรียน นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่คลาดเคลื่อน (AC) เรื่อง ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส คิดเป็นร้อยละ 2.67 นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) คิดเป็นร้อยละ 44.67 นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) คิดเป็นร้อยละ 51.33 และนักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สมบูรณ์ (CU) คิดเป็นร้อยละ 1.33 แต่หลังจากการจัด การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง นักเรียนมีความสามารถเข้าใจในมโนทัศน์ที่ถูกต้องมากขึ้นและมีความเข้าใจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนน้อยลง ซึ่งจะเห็นได้จากความเข้าใจมโนทัศน์ที่สมบูรณ์ (CU) คิดเป็นร้อยละ 61.33 ระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) คิดเป็นร้อยละ 29.33 ระดับที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) คิดเป็น
ร้อยละ 9.33 และระดับที่คลาดเคลื่อน (AC) คิดเป็น
ร้อยละ 0.00

References

Boonjam, S., Nuangchalerm, P., & Wongchantra, P. (2015). Inquiry-based Learning and Service Learning of Mathayomsueksa 3 Students, Entitied Environment and Natural Resources to enhancing Learning Achievement, Analytical Thinking, and Public Mind. Journal of faculty of Education Mahasarakham university. 9(2), 152-153. [in Thai].

Boonklurb, N. (1997). learning process according by Constructivism. Journal of The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, 25(96), 13-14. [in Thai].

Budnitz, N. (2003). What do We Mean by Inquiry?. Retrieved from http://www.biology.duke.edu/cibl/inquiry/what_is_inquiry.htm

Brame, C. (2013). Flipping the classroom. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieved from http://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/flipping-the-classroom/.

Hewson, P. W., Zeichner, K. M., Tabachnick, B. R., Blomker, K. B., & Toolin, R. (1992). A conceptual change approach to science teacher education at the University of Wisconsin-Madison. Paper presented at the Annual Meeting of the American Education. Research Association, San Francisco, CA.

Jeerungsuwan, N. (2015). Google for Education and the Reform of Thai education. Journal of Educational techniques, 28(96), 14-20. [in Thai].

Joyce, B & Weil, M. (1980). Marsha. Conceptual Complexity, Teaching Style and Models of Teaching. Nov 72. 25,5-12

Kaemkate, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences. Bangkok: Educational Research and Psychology Chulalongkorn University. [in Thai].

Khemmani, T. (2013). Subject of Teaching: Knowledge for efficacy of Organizing the learning process. (17th ed). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai].

Lawson, A. E. (1994). Research on the acquisition of science knowledge: Epistemological foundations of cognition. In D. Gabel (Ed.), Handbook of research on science teaching and learning (pp. 131–176). New York: Macmillan.

Moonkham, S & Moonkham, O. (2003). 21 Method design for leaning to Develop Thinking process. Bangkok: Phappim. [in Thai].

Pahe, S. (2013). The Flipped Classroom : New classrooms. Dimension in the 21st Century. Retrieved from http://www.mbuisc.ac.th /phd/academic/flipped%20classroom2.pdf. [in Thai].

Panich, V. (2013). Kruphersit sranghongreanklubthang S.R.Printing S. R. PRINTING MASSPRODUCTS COMPANY LIMITED. [in Thai].

Panich, V. (2015). Assessment to Authorize of learning (Embedded formative assessment). Bangkok: SAAN AKSORN COMPANY LIMITED. [in Thai].

Posner, M. (1998). Asymmetries in hemispheric control of attention in Schizophrenia. Arch. Gen. Psychiatry 45, 814–821

Ra-ngubtook, W. (1999). lesson planning of Student – centered learning. Bangkok: L.T. Place. [in Thai].

Rogers, M. A., Plassman, B. L., Kabeto, M., Fisher, G. G., McArdle, J. J., Llewellyn, D. J., & Langa, K. M. (2009). Parental education and late-life dementia in the United States. Journal of geriatric psychiatry and neurology, 22(1), 71-80.

School wires. (2013) The Flipped Classroom : A New Way to Look at Schools. Retrieved from http://www.schoolwires.com/cons/lip3/flipped_classroom_0612.pdf.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Manual of lesson planning in Science department. Bangkok: Express Transport Organization. [in Thai].

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2011). Textbook in Science Subject Matthayom 5 Science department Consistent by Syllabus Basic education Core 2018. Bangkok: Kurusapha ladprao. [in Thai].

Tongsookdee, M. (1978). Structure of Science Subject. Educational supervision Document (201). Bangkok: Kurusaphaladprao. [in Thai].

Wongchusiri, P. (1984). “Grading of Content and experience”, Subject of Teaching in Science Document. Bachelor of Education Program Sukhothai Thammathirat University. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31