ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุภาพร หลงละเลิง สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จุฬารัตน์ ธรรมประทีป สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด จังหวัดตรัง ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด จังหวัดตรัง ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน จับฉลากห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนในการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้ และ 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนในการทดสอบความคิดสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Chaichang, J. (2013). The effects of the 7E Inquiry Learning Activity Management Emphasizing on Cooperative Learning on Learning Achievement and Science Problem Solving Ability of Mathayom Suksa II Student at Nong Yang Pittayakhom School in Nakhon Ratchasima Province, STOU Education Journal (July-December), 10 (2), 208-230. [in Thai]

Chiappetta, E.L., & Russell, J.M. (1982). The relationship among logical thinking, problem Solving instruction, and knowledge and application of earth science subject matter. Science Education, 66(1), 85-93.

Guilford, J.P. (1950) “Creativity” American Psychologist, 5, 444-454

Kwankaew P. and et al. (2016). Development of Creative Characteristics using Project-Based Learning (PjBL) for High Vocational Students of Program in Secretarial, Journal of Southern Technology (January-June), 9(1), 1-6. [in Thai]

Makanong A. (2010). Mathematical Skills and Processes: Development for Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Namjaidee J. (2013). The Effect of Science, Technology and Society Learning Approach on Learning Achievement in the Topic of Ecosystem and Science Problem Solving Ability of Mathayom Suksa III Students at Kanchanapisek Witthayalai School in Suphan Buri Province, Journal for Social Science Research Sukhothai Thammathirat Open University (January-June), 5(1), 5-21. [in Thai]

Niyomthai S. (2011). Development of a Blended Vicational Instruction Model Using Project-Based Learning in the Workplace to Develop Performance and Problem-Solving Skills for Industrial Vocational Certificate Students, Journal of Rattana Bundit University (May-October), 6(1), 79-85. [in Thai]

Panich V. (2013). Learning Methods for Students in the 21st Century. Bangkok. Sodsri-Saritwong Foundation. [in Thai]

Srichantha S. (2009). Project Based Learning in Instructional Methodology and Management in Mmathematics 1 Course for Bachelor’s Degree Students of the Faculty of Education in Mmathematics at Loei Rajabhat University, Journal of MCU Social Science Review (January-March), 6(1), 127-139. [in Thai]

The Ministry of Education. (2008) The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). [in Thai]

Torprom S. & Pluangnuch N. (2010). Scientific Achievement and Creative Thinking on Substance and itûs Change for Matayomsuksa 2 by Inquiry Cycle Teaching Model, Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University (January-March), 4(1), 120-127. [in Thai]

Weir JJ. 1974 “Problem solving is everybody’s Problem” Science Teacher, 4, 16-18, April 1974

Wiboonat T. and et al. (2015). Comparisons of Creative Problem Solving and LearningAchievement of Mattayomsueksa 5 Students Who Learned Using the Problem-Based Learning with Project-Based Learning and Conventional Learning Approaches, Journal of Education, Mahasarakha University (July-September), 9(3), 42-53. [in Thai]

Yoelao D. and et al. (2014). PBL Learning Management from the Construction Project Knowledge Set to Enhance the Skills of the 21st Century of Children and Youth: from The Success Experience of Thai Schools. Bangkok: Thippayawisut LP. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31