ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 (3) เปรียบเทียบความสามารถใน
การแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และ (4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ ร้อยละ 75
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบางลี่วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุพรรณบุรี 1 ห้องเรียน จำนวน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน และ (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Department of Academic Affairs (2001). Organization of the learning process that focuses on the learner is the most important. Bangkok Mahanakorn: Religion Printing Press. [in Thai]
Wongsuwan, S. (1999). Learning in the 21st century. It is also a knowledge creator. Self. Bangkok: P.O. [in Thai]
Aektasaeng, A. (2009). The Development of Learning Management Project Approach in Biology for Matayomsuksa 5 Students Muangbaengvittayakom School, Wungsaphung District, Loei Province. Master Degree Thesis of Education in Curriculum and Teaching, Rajabhat University. [in Thai]
Promkhatkaew, T. (2014). Introduction to Project-Based Learning Management. (Project-Based Learning: PBL). IPST, 42(188), (16). [in Thai]
Puranachot, T. (1988). Teaching science project activities. A handbook for teachers. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Sinthapanon, S. (2002). Organizing the learning process: focus on learners as important as the curriculum. Basic education. Bangkok: Aksorn Charoen Tat. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)