รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การให้ข้อมูลย้อนกลับ, ทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ และศึกษาพัฒนาการของนักเรียนภายหลังจากที่ใช้การให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นวางแผน โดยผู้วิจัยออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ขั้น คือ
ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป โดยแต่ละขั้นบูรณาการการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์
2) ขั้นปฏิบัติ ผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 3) ขั้นสังเกตการณ์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบฝึกทักษะการเขียนบรรยาย และการเขียนเชิงวิเคราะห์ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ผู้วิจัยนำข้อมูลจากแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการว่านักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ของตนเองได้มากน้อยอย่างไร ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วย ขั้นแจ้งจุดประสงค์ในการเรียน ขั้นตรวจสอบความเข้าใจเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ขั้นการให้ข้อมูลย้อนกลับ และขั้นให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทาง 2) นักเรียนที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้โดยให้ข้อมูลย้อนกลับมีพัฒนาการการเขียนเชิงวิเคราะห์ระดับกลางขึ้นไป มีคะแนนพัฒนาการ
แบบฝึกทักษะที่ 1 การเขียนบรรยายจากบทความ 33.63 (ระดับกลาง) แบบฝึกทักษะที่ 2 การเขียนเชิงวิเคราะห์จากบทความ 28.57 (ระดับกลาง) แบบฝึกทักษะที่ 3 การเขียนเชิงวิเคราะห์จากบทความ 45.39 (ระดับกลาง) และแบบฝึกทักษะที่ 4 การเขียนเชิงวิเคราะห์จากบทความ 59.02 (ระดับสูง)
References
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines for measuring and evaluating learning outcomes According to the core curriculum of basic education, B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited. (in Thai)
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards Office of the Basic Education Commission. (2005). Guidelines for the implementation of teaching and learning reform according to the intention of the Ministry of Education 2006. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
Chotima Nooprick. (2017). Assessment for Learning: Questioning and Feedback to Enhance Learning. Journal of Education Silpakorn University. 13 (2): 18-30. (in Thai)
Daoruang Lumthong. (2010). The effects of feedback styles on visual of development: an application of feedback and feedforward approaches. Master of Education Program in Educational Measurement and Evaluation Chulalongkorn University. (in Thai)
Fasihah Arewae. (2012). Development of a peer Feedback Model to enhance Thai writing skill of Thai as a second language learner. Master of Education Program Chulalongkorn University. (in Thai)
Fisher, D., Grant, M., Frey, N., & Johnson, C. (2007). “Taking formative assessments schoolwide.” Educational Leadership. 65(4): 64–68.
Gavriel, J. (2013). Assessment for learning: A Wider (classroom-researched) Perspective is Important for Formative assessment and Self-directed learning in general practice. New Jersey: Prentice-Hall. Inc.
Hattie, J., & Timperley, H. (2007). “The power of feedback.” Review of Educational Research. 77: 81–112.
Senee Walaawan. (2014). Improve language skills. Bangkok: Suveeriyasarn. (in Thai)
Sirichai Kanjanawasee. (2001). Classical test theory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.Limited. (in Thai)
Tunstall, P. and Gipps, C. (1996). “Teacher feedback to young children in formative assessment: A typology.” British Educational Research Journal. 22(4): 389-404.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)