ฉันพัฒนาตัวแทนทางความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สสารและสถานะของสสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานได้อย่างไร
คำสำคัญ:
ตัวแทนทางความคิด, การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, สสารและสถานะของสสารบทคัดย่อ
งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีและพัฒนาตัวแทนทางความคิดของนักเรียนเรื่อง สสารและสถานะของสสาร โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดตัวแทนทางความคิด คำสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และผลงานที่นักเรียนสร้างขึ้น บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของฉัน และแบบบันทึกการนิเทศของอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์ผลโดยวิธีอุปนัยเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดี และวิเคราะห์ผลการพัฒนาตัวแทนทางความคิดของนักเรียนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ คือ 1) ให้นักเรียนแสดงความคิดของตนเองออกมาให้ได้มากที่สุดผ่านการเขียนคำอธิบาย ร่วมกับการวาดภาพและระบายสี และการสร้างแบบจำลองรูปแบบ 3 มิติกับเนื้อหาที่เป็นนามธรรม 2) เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดและสร้างตัวแทนทางความคิดผ่านการสร้างแบบจำลองด้วยตนเอง พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งที่ต้องปรับแก้ในแบบจำลอง เพื่อให้นักเรียนสามารถนำแบบจำลองมาใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และ 3) การใช้คำถามซักไซ้ไล่เรียงและการเปิดโอกาสให้ตอบคำถาม เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างตัวแทนทางความคิดของนักเรียน โดยผลการแสดงตัวแทนทางความคิดของนักเรียนพบว่า นักเรียนเกินกว่าร้อยละ 50 สามารถแสดงตัวแทนทางความคิดถึงคุณสมบัติของสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้ถูกต้องและสอดคล้องกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน
References
Chi, M. T. H. and R. D. Roscoe. (2002). The process and challenges of conceptual change.” Reconsidering conceptual change: Issues in theory and Practice. Netherlands: Kluwer Academic Publishers.
Funchian, N. (2020). The 5 E’s of Inquiry-Based Learning. Retrieved from https://www.trueplookpanya.com /blog/content/82385/-blog-teamet. (in Thai)
Gilbert, J. K. (2005). Visualization in science education. Netherlands: Springer.
Gobert, J. D. and B. C. Buckley. (2000). “Introduction to Model-Based Teaching and Learning in Science Education.” International Journal of Science Education 22 (9): 891-894
Into, W. (2016). Model-based learning management in world subjects Astronomy and space. [in Thai]
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.
Kuathan, N., Faikhamta, C. & Sanguanruang, S. (2011). The Secondary Students' Mental Models of Chemical Bonding. Songklanakarin Journal of Social Sciences & Humanities, 17(2), 300-314. [in Thai]
Mairod, P. (2014). The Development of 10th Graders’ Mental Models of Cell Division by Using Model-based Learning. (Master’s thesis, Science Education Division, Kasetsart University). [in Thai]
Pokpun, K. (2011). The Development Of grade 11 student' scientific conceptions on Astronomy and Scientific attitudes through Model-Based Learning. (Master’s thesis, Science Education Division, Kasetsart University). [in Thai]
Prain, V., Tytler, R. and Peterson, S. (2009). Multiple Representation in Learning About Evaporation. International Journal of Science Education, 31, 787-808.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)