ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ในการเรียนสาระวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ผังมโนทัศน์, ผลสัมฤทธิ์, การคิดวิเคราะห์, เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนสาระวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อินเทอร์เน็ต ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ผังมโนทัศน์กับการเรียนแบบปกติ
2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในการเรียนสาระวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อินเทอร์เน็ต ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ผังมโนทัศน์กับ
การเรียนแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ต
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลคลองท่อมใต้ จังหวัดกระบี่ จำนวน 2 ห้องเรียน
มีจำนวนนักเรียน 60 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัด การเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ต
2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.53 คะแนน (S.D. = 1.01) กลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.87 คะแนน (S.D. = 1.49) และพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนก่อนเรียนของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ผังมโนทัศน์ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.93 คะแนน
(S.D. = 2.96) กลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.17 คะแนน (S.D. = 11.17) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.70 คะแนน (S.D. = 3.25) กลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.13 คะแนน (S.D. = 3.15) และพบว่าความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทางการเรียนก่อนเรียนของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดวิเคราะห์นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.03 คะแนน
(S.D. = 1.27) กลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 10.50 คะแนน (S.D. = 1.83) พบว่าความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ผังมโนทัศน์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ผังมโนทัศน์มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 (S.D. = 0.34)
References
Academic. (2561). Khlong Thom Tai school District Krabi. Retrieved from ttp://www.tbktschool.ac.th/
Chaowakeratipong, N. (2019). Academic series organizing science learning experience. Journal of Education Sukhothai Thammathirat Open University, 6-10. [in Thai].
Chonsakhon,S.(2013).The Effects of Teaching with the Use of Graphic Mapping on Learning Achievement and Analytical Thinking Skill in the Topic of Buddhist Dhamma Principles of Upper Primary Students at Wat Kasom School in Nakhon Si Thammarat Province. Master of Education in Curriculum and Instruction School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].
Independent Committee for Educational Reform.(2019). National Educational Reform Plan. Bangkok: Office of Public Works Education Council. [in Thai]
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2003). Organizing learning content, science content. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. [in Thai].
Kaewmanee, W. (2019). The Development of Creative Writing in English Ability of Pratomsuksa 6 Students by using Concept Map. Master of Education Department of Curriculum and Instruction College of Education Science, Dhurakij Pundit University. [in Thai].
Krabi Primary Educational Service Area Office. (2560). Information report for the academic Retrieved from http://www.krabiedu.net/.
Liukongsathaporn, W. (2018). Development of conceptual skills through conceptual mapping Science. Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 46(209), November - December 2017. [in Thai].
Ministry of Education. (2010). National Education Act B.E. 2542 Amendment (Vol.3) B.E. 2553. Bangkok: Prikwan Graphic. [in Thai].
Sa Haad, N. (2016). Effects of Learning Management by Concept Attainment Process on Mathematics Achievement and Conceptual Thinking Ability of Grade 5 Students in Pattani Primary Educational Service Area Office 3. Master of Education in Curriculum and Instruction Prince of Songkla University. [in Thai].
Sotthiphonan, S. (2017). Developing the System Thinking Capability by using Brainstorming to Create Concept Mapping in the First-year Students of Bachelor of Education, Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Vol. 8 No. 1 January – June. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)