ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
สิ่งแวดล้อม, การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษา จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีค่าความเชื่อมั่น .831 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า นิสิตนักศึกษาเป็นนิสิตหญิง ร้อยละ 54.2 มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 61.7 เรียนสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสัดส่วนที่เท่ากัน มีรายได้เฉลี่ย 9,963 บาท มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน ร้อยละ 47.2 ได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 83.5 บิดา/มารดาเป็นบุคคลที่ทำให้นิสิตนักศึกษาสนใจเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร้อยละ 54.3 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 65.5 มีความรู้อยู่ในระดับดี และร้อยละ 56.2 มีพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับปานกลาง
ผลการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ข่าวสาร บุคคลหรือกลุ่มอ้างอิง และความรู้เกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาพรวม แต่มีบางปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในด้านย่อย คือ 1) อาชีพมารดาของนิสิตนักศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้านการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เรื่องการดัดแปลงวัสดุไปใช้ในงานอื่น 2) รายได้ของนิสิตนักศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้านการลดทรัพยากรเรื่องประหยัดพลังงานไฟฟ้า และด้านการนำทรัพยากรมาซ้ำ เรื่องการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปใช้ในงานอื่น 3) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากการประชุมวิชาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้านการลดการใช้ทรัพยากรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
References
Boubonari,T. A. Markos, and T. Kevrekidis. (2013). Greek Pre-Service Teachers’ Knowledge, Attitudes, and Environmental Behavior Toward Marine Pollution. The Journal of Environmental Education, 44(4), 232–251.
Department of Environmental Quality Promotion. (2004). Environmental Knowledge. Aroon Printing, Bangkok. (In Thai)
Kaewsaenmuang, P. (2012). Student Development. Retrieved from https://www.gotoknow.org/ posts/253385. (In Thai)
Klaisuk, A.; N. Peasua.; S. Thunjira.; and Patipajak. (2012). Assocition of Knowledge, Attitude and Flood Preparedness Behaviors among People in Patal Subdistrict. Retrieved from https://med.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/public/research/Nation/2557/FullTxt/fullTxtNo50.pdf. cited Schwartz, N.E. 1975. Nutrition Knowledges, Attitude and Practice of High School Graduates. Journal of the American Dietetic. 66(1) 28-23.
Meechinda, P. (2010). Consumer Behavior. Bangkok: Thammasarn Company Limited. (In Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2014). Educational Statistics. Retrieved from http://www.info.mua.go.th/information/. (In Thai).
Office of the Environment Region 16. (2017). Turning Waste into Resources and Energy. Retrieved fromhttps://reo16.mnre.go.th/ reo16/knowledge/detail/198?fbclid=IwAR3u0qmIyXE U3vdWD3j7BE-2FxdAl8Od13Gj 5qhgxKFjEXC9yQf-bMvGums,1 July 2021. (In Thai)
Okur, N. and Saricam C. (2018). The Impact of Knowledge on Consumption Behavior Towards Sustainable Consumption. Consumer Behavior and Sustainable Consumption. (69-96). Retrieved from https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-981-13-1265-6_3.
Laoyai, U. (2009). Knowledge and use of resources to reduce global warming among women in Nakhon Phanom Province. (Unpublished master’s thesis). Kasetsart University. (In Thai)
Manager Online. (2020). A New Start in Taking Care of the Serious Environment after COVID-19. Retrieved from https://mgronline.com/ news1/detail/9630000058782. (In Thai).
Petcharat, C. (2012). Human and Environment. Retrieved from https://www.gotoknow.org/ posts/466603. (In Thai)
Piligrimiene, P., Zukauskaite, A., Korzilius, H., Banyte, J., & Dovaliene, A. 2020. Sustainability: Internal and External Determinants of Consumer Engagement in Sustainable Consumption. Sustainability Journal, 12(1), 1-20. Retrieved from https://www.researchgate net/ publication/339422043.
Pimdee, P. (2004). Green Consumption Behaviors of Students: Confirmatory Factor Analysis. KMUTT Research and Development Journal. 39 (3), 317-326.
Pollution Control Department. (2012). Thailand Pollution Situation Report 2012. Bangkok: Pollution Control Department Ministry of Natural Resources and Environment. (In Thai)
Sukcharoen, V. (2012). Consumer Behavior. Bangkok: G.P. Cyberprint. (In Thai)
Songrok. K. (2009). Conservation. Bangkok, Nation Egmont Edutainment Company Limited. (In Thai)
Taweedech, T. (2016). Factors influencing Environmental Behavior and loyalty in Environmental Products of Generation Z. Eastern Asia Journal. 10(2). 10-25. (In Thai)
Toonpirom, V. (2019). Waste Power Plant From Waste To Energy, the Solution to the Problem of Overflowing Garbage in the city?. Retrieved from http://gotomanager.com/ content/2019/12/page/5/.
Tsarenko, Y., Ferraro, C., Sands, S. & McLeod, C. (2013). Environmentally Conscious Consumption: The Role of Retailers and Peers as External Influences. International Journal of Retailing and Consumer Services, 20(3), 302-310. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0969698913000076.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)