การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดเชิงคำนวณ, การพัฒนาชุดสื่อ, ADDIE Model, สื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย โดยใช้ ADDIE Model 2) ศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูปฐมวัยและผู้ปกครองหลังการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 11 คน เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี จำนวน 3 คน และผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย จำนวน 1 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ 2) แบบประเมินชุดสื่อการเรียนรู้ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย นิทานเรื่อง “ข้าวผัดแฟนซีของนาโนกับเนเน่” คู่มือการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวน 4 กิจกรรม 2) ทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งโดยรวมและรายด้าน และ 3) ครูปฐมวัยและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ( = 4.83, = 0.28) ซึ่งชุดสื่อการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัยได้
References
Bell, T., Witten, I., & Fellows, M. (2015). CS Unplugged: An enrichment and extension programme for pri¬mary-aged students. self-published.
Branson, R. K., Rayner, G. T., Cox, J. L., Furman, J. P., King, F. J., & Hannum, W. H. (1975). Interservice procedures for instructional systems development. (TRADOC Pam 350-30 NAVEDTRA 106A). Ft. Monroe, VA: U.S. Army Training and Doctrine Command, August 1975. (NTISNo. ADA 019 486 through ADA 019 490).
Jongburanasit, S. (2015) The Use of ADDIE MODEL for The Improvement and Development Of Teaching And Learning Chinese Language To Conform With The Learning In The 21st Century. Journal of Humanities and Social Sciences Songkhla Rajabhat University. 3(1). 67-79.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2020). frameworks and approaches for organizing integrated learning experiences Science, technology and mathematics at the early childhood According to the curriculum of early childhood education, B.E. 2560. Bangkok: Gogo print (Thailand) Company Limited. [in Thai]
Sermin, M. (2020). Activity-based unplugged coding during the preschool period. International Journal of Technology and Design Education. 30(4), 36–47.
Shih, Y., Chia, L., Chih, H., Kuo, M. (2020). Enhancing Computational Thinking Capability of Preschool Children by Game-based Smart Toys. Electronic Commerce Research and Applications. 44(11), 117-139.
Srisaard, B. (2002). Introduction of Research. Bangkok: Suweeriyasan Company Limited. [in Thai]
Weinberg. (2013). Computational thinking: An investigation of the existing scholarship and research. The Degree of Doctor of Philosophy Colorado State University Fort Collins. Colorado.
Yuleh, T. (2017). The development of artistic learning media based on the concept of Guilford. To enhance the creativity of children aged 5-6 years. Master's Thesis Department of Arts Education, Srinakharinwirot University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)