ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • โสรยา เสลานนท์ สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัญหาเป็นฐาน, ความฉลาดรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่ จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องน้ำ จำนวน 18 แผน  2) แบบประเมินความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมระดับความหมาย ความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมระดับหน้าที่ 3) แบบบันทึกพฤติกรรมความฉลาดรู้ของเด็กปฐมวัยด้านสิ่งแวดล้อมระดับปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยาย
เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีคะแนนความฉลาดรู้ด้านสิ่งแวดล้อมหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง โดยก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.67
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.80 และหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.60 โดยพบว่าหลังการทดลองเด็กปฐมวัยสามารถบอกคำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำ สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเรื่องน้ำ สามารถใช้น้ำในการทำกิจวัตรประจำวันอย่างรู้คุณค่าและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำได้

References

Bara, G. & Xhomara, N. (2020). The effect of student-centered teaching and problem- based learning on academic achievement in science. Journal of Turkish Science Education, 17(2),180-199.

Hollweg et al, (2011). Developing a framework for assessing environmental literacy. Retrieved from https://cdn.naaee.org/ sites/default/files/devframewkassessenvlit onlineed.pdf

Hye-Eun Chu et al, (2007). Korean Year 3 Children is Environmental literacy : A prerequisite for a Korean environmental education curriculum. International Journal of Science Education, 29(6) 731-746.

Kuswendi, U. & Arga, H. S. P. (2020). Developing Environmental Literacy of Primary School Students by Utilizing Scraps. Mimbar Sekolah Dasar, 7(2), 198-215.

Ministry of Education. (2018). Early Childhood Curriculum B.E. 2560 [A.D. 2017] Handbook for 3 – 6 Years Old. Retrieved from. http://academic.obec.go.th/images/document/1572317514_d_1.pdf. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). Early Childhood Curriculum B.E. 2560 [A.D. 2017] 3 – 6 Years Old. Retrieved from. http://academic.obec.go.th/images/document/1590998426_d_1.pdf

Miranda, A., Brito, C., Jofili, Z., Carneiro, A. and Mdos, A. (2017). Ecological literacy – Preparing children for the twenty-first century. Early Child Development and Care, 87(2), 192-205.

North American Association for Environmental Education. (2010). Guidelines for Excellence K-12 Learning. Retrieved from https://cdn.naaee.org/sites/ default/files/ learnerguidelines _new.pdf

Office of Natural Resources and Environment Policy and Planning. (2019). Environmental Quality Report 2019. Retrieved from. https://www.onep.go.th/ ebook/soe/soereport2019.pdf. (in Thai)

Office of the Education Council. (2007). Problem-based learning. Retrieved from. http://backoffice.onec.go.th/ uploads/Book/362-file.pdf (in Thai)

Office of the Royal Thai Academy. (2019). Dictionary of contemporary academic terms Literacy Series. Bangkok: Arun Printing Limited Partnership. (in Thai)

Oregon State University. (n.d.). Oregon Environmental Literacy Program. Retrieved from. https://grayff.org/wp-content/uploads/2018/07/GFF_Integration-Booklet_final_paginated.pdf

Praphahar, S. (2017). The Effects of Using Cooperative Learning and Problem-Based Learning Manual Affected to Thinking Skills in Problem Solution, Learning Development and Helping Behavior of the Preschool Children. Retrieved from https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=55421231135 (in Thai)

Samahito, C. (2017). Development and Learning in Young Children Course Code 01155531. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

The Institute for the Promotion of Teacher Science and Technology. (2020). Frameworks and approaches for organizing integrated learning experiences Science, technology and mathematics at the early childhood According to the curriculum of early childhood education, B.E. 2560. Bangkok: Gogo print (Thailand) Company Limited. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022