ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สีปูน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กฤษฏา วรพิน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ยุพิน ยืนยง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, กระบวนการ IMPROVE, คำถามระดับสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและแยกตามองค์ประกอบย่อยของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับ
การใช้คำถามระดับสูง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและแยกตามองค์ประกอบย่อยของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าเด็งวิทยา จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน 70 คน เป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจะ (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( gif.latex?\bar{x} ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า  1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและแยกองค์ประกอบย่อย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  2) นักเรียน ชที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ IMPROVE ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและแยกตามองค์ประกอบย่อยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

References

Baroody, A. J., & Coslick, R. T. (1998). Fostering children's mathematical power: an investigative approach to K-8 mathematics instruction. Lawrence Erlbaum Associates, Inc

Burton, G. M. (1985). Writing as a way of knowing in a mathematics education class. Arithmetic Teacher.

Intamart P. (1998). The effect of using high-level questions on mathematics learning achievement of Mathayom Suksa 3 students. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Mavarech, Z. R. & Fridkin, S. (2006). The effects of IMPROVE on mathematical knowledge, mathematical reasoning and meta-cognition, Mata-Cognition Learning. 1(1), 85-97

Reabrieng W. (2018). A study of mathematical problem solving ability and reasoning mathematical ability on the topic of probability by organizing learning activities using IMPROVE method of mathayomsuksa 3 Students. RMUTI Journal Humanities and Social Sciences, 5(2), 72-85. [In Thai]

Rosemary Schmalz, S. P. (1973). Categorization of Questions that Mathematics Teachers ask. Mathematics Teacher. 66, 7(November). Ruddel, R. B. 1974. Reading-Language Instruction: Innovative Practices. Englewood Cliffs, N. J.:Prentice – Hall.

Saejiew, D. (2020). The study of mathematical reasoning ability of mathayomsuksa 2 students on parallel line using the organizing mathematical learning activity with the improve method. Bangkok: Kasetsart University. [In Thai]

Saothong, S. (2015). Effect of organizing learning activity using improve process with creative problem solving process on reasoning ability in mathematical problem solving on properties of exponents. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31