ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาที่มีต่อการคิดเป็นภาพ ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ประภาพร เปลาเล สาขาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษา, การคิดเป็นภาพ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาที่มีต่อการคิดเป็นภาพของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยที่เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563  ห้องเด็กเล็ก 3 จำนวน 6 คน เป็นนักเรียนชาย 3 คน เป็นนักเรียนหญิง 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาจัดประสบการณ์ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเป็นภาพของเด็กปฐมวัยจำนวน 6 แผน 2 ) แบบประเมินเชิงปฏิบัติในการคิดเป็นภาพของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดเป็นภาพของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการคิดเป็นภาพหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.32 และหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.87 โดยมีพัฒนาการคิดเป็นภาพที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย  
1) เข้าใจ พบว่า เด็กสามารถระบุความต้องการในการสร้างชิ้นงานสร้างสรรค์โดยการวาดภาพได้ 2) กำหนดวัตถุประสงค์ (ใหม่) พบว่า เด็กสามารถเล่ารายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสร้างให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 3) ริเริ่มความคิด พบว่า เด็กสามารถต่อเติมภาพประกอบที่แสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงานสร้างสรรค์โดยการวาดได้ 4) คิดเป็นภาพ พบว่า เด็กสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ต้องการสร้างและภาพประกอบให้เป็นเรื่องราวได้ 5) แบ่งปัน พบว่า เด็กสามารถนำเสนอภาพวาดที่แสดงเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ 6) สะท้อน  พบว่า เด็กสามารถคิดทบทวนและนำเสนอสิ่งที่ได้วาดภาพออกมาตรงตามความต้องการได้

References

Bruner, J. S. (1966). Toward a Theory of Instruction. United States of America. Public Health Service.

Kraiwan, H. (2016). STEAM Education Learning Experience on Creative Problem Solving Ability of Early Childhood Children. Master of Education. Thesis Early Childhood Education, Kasetsart University. [in Thai]

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (NSTDA). (2018). Guide for STEM Education Teacher Training Course. Bangkok. [in Thai]

Champangern, J. (2019). The meaning of steam education. Retrieved from. https://www.gotoknow.org/posts/615148/, August 11, 2019. [in Thai]

Butkatunyoo, O. and S. Pitipornthepin. (2019). STEAM Education Experience (STEAM Education) for early childhood development. Retrieved from. https://www.educathai.com/events/63, 4 September 2019. [in Thai]

Piaget, J. (1969). The Psychology of the child Translated by Halen Weaver. New York: Basic Book.

Pinyoanantapong, S. (2001). Cultivation of early childhood children to love the environment through homework activity exercises and practicality. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Sriboon, S. (2018). Results of learning management according to the concept of STEAM Education using problems as a base. to develop mathematical skills and processes for for students in Mathayom 1. Master of Education Thesis Department of Curriculum and Instruction, Silpakorn University. [in Thai]

Sword, L. (2005). The Power of visual thinking. Retrieved September 5, 2020. Retrieved from. http://www.giftedservices.com.au /handouts/Thinking.doc

Vygotsky, L. S. (1995). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. In M. Cole. V. John Steiner.S. Scribner and E. Suberman (Eds). The Development of Higher Psychological Processes (pp.84-91) London: Haward University Press.

Israsena Na Ayudhya, W. (2016). Things to know about STEM Education (Stem Education). First Edition, Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Willemien, B. (2019). Visual Thinking. Third Edition. Bangkok: Tathata Publication, 2019. 144 pages.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30