ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นิภาพร ภู่สุวรรณ์ สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัล, ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติของเด็กปฐมวัย ใน 3 ด้าน ได้แก่ ความเข้าใจระบบธรรมชาติและมนุษย์ผ่านปฏิสัมพันธ์ การให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบด้วยเหตุและผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัล กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง  5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียน   พระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ จำนวน 3 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการสอนโดยการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ปรากฏการณ์ ได้แก่ ภัยพิบัติพายุ ภัยพิบัติน้ำท่วม ภัยพิบัติภัยดินไหว และ ภัยพิบัติสึนามิ จำนวน 24 แผน 2) แบบประเมินความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผสานสื่อดิจิทัล มีคะแนนความฉลาดรู้หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยพบว่าหลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีความเข้าใจระบบธรรมชาติและมนุษย์ผ่านปฏิสัมพันธ์ เด็กปฐมวัยรับรู้เข้าใจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ พืช และสิ่งแวดล้อมรอบตัว อธิบายบอกลักษณะของภัยพิบัติพร้อมให้สาเหตุการเกิดและผลกระทบที่เกิดขึ้น เลือกตัดสินใจ เลือกวิธีการปฏิบัติตนก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างภัยพิบัติ และหลังเกิดภัยพิบัติได้ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

References

Chaiset. (2014). Natural disaster preparedness awareness. Executive Journal. 92-115. [in Thai]

Chasipa. (2012) The Development of Geographic Instructional Model by Active Learning Approach to Enhance Geo-Literacy. file:///C:/Users/%E0%B8%9E%E0 %B8%B5%E0 %B8% 8B%E0%B8%B5/ Downloads/250418%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-910123-1-10-20211005%20(1).pdf

Pisan. (2015). Problem–based Learning: PBL https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf

Bayrak, T. (2009). Identifying requirements for a disaster monitoring system. Disaster Prevention and Management, 18(2), 86-99.

ESRI School and Libraries Program. (2003). Geographic inquirl: Thinking geographically. https://www.esri.com/Industries/k-12/education/media/files/Pdfs/industries/k-12/ pdfs/geoginquiry

Kusumasari, B., Alam, Q., & Siddiqui, K. (2010). Resource capability for local government in managing disaster. Disaster Prevention and Management, Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 16(5), 785-806. file:///C:/Users/Administrator/Downloads/97687-Article%20Text-243940-1-10-20170830.pdf

Hendricks. (2013) National head start association annual conference. https://www.nhsa.org/files/resources/hendricks2.pdf

National Association for the Education of Young Children. (2015). A sense of place: human geography in the early childhood classroom. https://www.naeyc.org/resources/pubs/yc/jul2015/sense-of-place-human-geography

Pennsylvania Department of Education. (2014). Pennsylvania learning standards For Early Childhood Pre – Kindergarten. https://secureservercdn.net/ 198.71.233.197/69d.231.myftpupload.com/wp-content/uploads/2017/11/2014-Pennsylvania-Learning-Standards-for-Early-Childhood-PreKindergarten.pdf

WCEE. (2008). Using proactive means reducing vulnerability to natural disasters. https://www.iitk.ac.in/nicee/wcee/article/14_10-0042.PDF

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023