การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น ภายใต้โครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” สำหรับโรงเรียนและชุมชน
คำสำคัญ:
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น, โรคพิษสุนัขบ้า, โรงเรียนและชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นภายใต้โครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า”สำหรับโรงเรียนและชุมชน แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับรูปแบบและการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในระดับสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 1,008 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความเหมาะสมของหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคพิษสุนัขบ้าและนักการศึกษา จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ ต่อความรู้ เจตคติ ทักษะการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรฯ คู่มือการใช้ระบบสารสนเทศ EDURA เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ แบบประเมินการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบผลต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่ (Paired t-test)
ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ร้อยละ 98.8) และไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนหรือนวัตกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ร้อยละ 94.4) ไม่มีกิจกรรมการป้องกันโรคในโรงเรียน (ร้อยละ 64.2) มีโรงเรียนที่มีการกำหนดนโยบายการป้องกันโรคในโรงเรียนเพียงร้อยละ 4.9 โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ร้อยละ 57.5) และไม่มีสื่อการจัดการเรียนรู้โรคพิษสุนัขบ้า (ร้อยละ 59.8) ส่วนใหญ่โรงเรียนไม่มีระบบการเฝ้าระวังเกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียน (ร้อยละ 53.0) ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุน อาทิ โปสเตอร์ แผ่นพับ และวิทยากรให้ความรู้กับทางโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะประเด็น อาการสำคัญ/การปฏิบัติตัวเมื่อถูกกัด ข่วน (ร้อยละ 99.5) รองลงมาคือ ความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้อง (ร้อยละ 99.3) เทคนิคการพัฒนาสื่อการสอน ได้แก่ การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 97.3)
การพัฒนาชุดการสอน (ร้อยละ 95.4) โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า เทคนิคการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน รูปแบบการเฝ้าระวัง การตอบสนองต่อเหตุการณ์ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นฯ มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการวิจัยระยะที่ 3 ประสิทธิผลของหลักสูตรพบว่า ผู้เข้าร่วมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติต่อการป้องกัน และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อหลักสูตร พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อคู่มือหลักสูตรฯ และคู่มือการใช้ระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความ
พึงพอใจต่อระบบสารสนเทศ EDURA อยู่ในระดับมาก
References
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). Disease Report in Surveillance System 506. Retrieved from http://www.boe.moph. go.th/boedb/surdata/506wk/y58/d42_3158.pdf. [in Thai]
Bureau of General Communicable Diseases, Department of Disease Control. (2018). Guidelines for the Prevention and Control of Rabies. Bangkok: Graphic and Design Publishing House. [in Thai]
Database System Thairabies.net. (2015). Thairabies.net 2013 – 2015 years. Retrieved from http://www.thairabies.net. [in Thai]
Department of Disease Control Ministry of Public Health. (2017). Guidelines for the prevention and control of rabies. Bangkok: Graphic and Design Publishers. [in Thai]
Kijyanyong, S. (2011). Training course completion. Bangkok: Expernet. [in Thai]
Saengngern, S. (2007). Development of training courses to enhance leadership for members of the Sub-district administrative organization, Nonthaburi Province. Ph.D. Thesis, Department of Education for Local Development, Rajabhat Rajanagarindra University. [in Thai]
Sanghiran, S. (2010). Development of Teacher Training Courses in Private Vocational Schools. Doctoral of Education, Department of Educational Administration Graduate School, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Sangthong, S. (2015). Development of Leadership Training Courses for Junior Executives in Educational Institutions under the Salesian Faculty Foundation of Thailand. Thai Interdisciplinary Research Journal. 10(2): September – October 2015.
Strategic Plan for the Project on Disease-Free Animals, Safe People from Rabies According to the wishes of Professor Dr. Her Royal Highness Princess Maha Chakir Sirindhorn Prince Chulabhorn Walailak Empress Year 2017 – 2020. (2016). Bangkok. [in Thai]
World Health Organization: WHO. (2018). Rabies. Retrieved from http://www.who.int/ mediacentre/factsheets/fs099/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)