การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • สุธิดา ทองคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พรพิมล รอดเคราะห์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ , ความสามารถในการแก้ปัญหา, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบผสมผสานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เนื่องจากสถานการณ์ของการระบาดของ covid 19 จากเอกสารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษา 30 คน อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ 2 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัด
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน คือ ADDIE Model ร่วมกับแนวคิดของ Dick, Carey and Carey และการวิจัยและพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการผสมสานการเรียนแบบเผชิญหน้าและออนไลน์ และนำลักษณะสำคัญ 5 ประการของ
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มาใช้ร่วมกันในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่แสดงถึงความสามารถในการแก้ปัญหาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการประกอบด้วย 5 ทักษะ จากการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ผู้เรียนควรได้ลงมือปฏิบัติ มีการวัดและประเมินผลทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติและในการเรียนออนไลน์ไม่ควรใช้เวลานาน
มีการแลกเปลี่ยนความคิดและมีใบกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทบทวนและระดับความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการอยู่ในระดับพอใช้ ความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนควรได้ลงมือปฏิบัติ
มีส่วนร่วม ผู้สอนอาจกำหนดสถานการณ์หรือการตั้งโจทย์ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผู้สอนควรจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมและเพียงพอและให้คำแนะนำ ปรึกษากับผู้เรียน

References

American Association for The Advancement of Science. (1970). Science Process Approach. New York: Commentary for Teacher. AAAS. Xerox.

Asarta, C. J., & Schmidt, J. R. (2020). The effects of online and blended experience on outcomes in a blended. The Internet and Higher Education, 44(January 2020).

Asay, L. D., Asay, & Orgill, M. (2010). Analysis of Essential Features of Inquiry Found in Articles Published in The Science Teacher 1998 - 2007. Journal of Science Teacher Education, 21(1), 57-79.

Bernath, R. (2012). Effective Approaches to Blended Learning for Independent Schools.

Bersin, J. (2004). The blended learning book: best practices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco: CA: Pfeiffer Printing.

Dewey, J. (1916). An Introduction to the Philosophy of Education. Retrieved from https://s3.amazonaws.com/arena-attachments/190319/2a5836b93124f200790476e08ecc4232.pdf.

Dick, W., L., C., & Carey, J. O. (2005). The Systematic Design of Instruction (5 ed.). New York: Addison – Wesley, Longman.

Driscoll, M. (2002). Blended Learning: Let's get beyond the hype. E-Learning, 3.

Graham, C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. Retrieved from http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf.

Horn, M. B., and Staker, H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Innosight Institute, Inc.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Organizing learning subjects for science groups basic education course. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. [in Thai].

Jaitam, J. (2021). The Development of Science Teaching Process using the 7-Step Learning Cycle (7E) in Combination with Practical Teaching Method on The Necessary Nutrients for Plant Growth to Promote Scientific Thinking and Creative Problem-Solving Skills of Matthayomsuksa 5 Students. Sisaket Rajabhat University 15(2), 81 – 94. [in Thai].

Kevin, K. (2008). Introduction to Instructional Design and The ADDIE MODEL.

Nganiem, W. and Eiamguaw, P. (2021). THE EFFECTS OF INQUIRY LEARNING CYCLE ON SCIENCE PROCESS SKILLS OF MATHAYOM SUKSA 5 STUDENTS. JOURNAL OF GRADUATE RESEARCH 12(1), 55 – 67. [in Thai].

Oliver, M., & Trigwell, K. (2005). Can blended learning be redeemed? E-Learning, 2(1 November 2005), 17 - 26.

Panith, W. (2013). Teacher for student: Create a classroom back the way. Bangkok: SR Mass Printing Products Co., Ltd. [in Thai].

Pedaste, M., Mäeots, M., Siiman, L. A., Jong, T. d., Riesen, S. A. N. v., Kamp, E. T., . . . Phakkaw, S. (2001). Teaching and learning that focuses student-centered learning. Bangkok: Aimphan. [in Thai].

Phuangphae. P., and Sirisamphan. O. (2015). The Development of an Instructional Model to enhance Social Studies learning activities design competency for pre-service teachers. Veridian E-Journal 8(1), 430 – 447.

Piaget. J. (1969). The Mechanisms of Perception. New York: Basic Book.

Songkram, N. (2010). Developing a model for creating knowledge through learning from practice and collaborative learning for personnel in higher education institutions. Case Study, Faculty of Education, Chulalongkorn university. (Master degree). Chulalongkorn university. [in Thai].

Techakup, P. (2001). Teaching that focuses on learners is important : Concepts, methods and techniques of teaching 2. Bangkok : The master group management. [in Thai].

Thungkanai, K. (2021). Blended Learning in a New Normal. Journal of Educational Studies. 1(15), 29 – 43. [in Thai].

Tsourlidaki, E. (2015). Phases of inquiry-based learning: Definitions and the inquiry cycle. Educational Research Review, 14, 47-61.

Yimyam, S., Charuwatcharapaniskul, U., Chareonsanti, J., Indarangkura Na Ayutthaya, A., Xuto, P. and Chaloumsuk, N. (2015). Developing on Blended Learning for Developing the 21st Century Learning Skills. Nursing Journal 42 (Supplement), 129 – 140. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30