ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง

ผู้แต่ง

  • จามจุรี ภูมิ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหา, มัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและ     การเคลื่อนที่ ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กับของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับ       การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กับของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชสถิตย์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  แล้วกำหนดโดยสุ่มให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 8 แผน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 8 แผน (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ (4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Bloom, Benjamin S.; & et ed. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Handbook I: Cognitive Domain. 17th ed. David Mackay.

Dechakupt, P. (2005). Behavior of science teaching. Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Kaewdok, P. (2018). A Study of learning achievement and scientific creativity of grade 10 students using creative based teaching : a mixed methods research. Master of Education degree, Mahasarakham University. [in Thai]

Khamanee, T. (2005). Learning management by learners using research as part of the learning process. Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Kittisaknawin, K. (2017). Individual Creativity of Central Library Officers. Silpakorn University Journal. [in Thai]

Laohaphaiboon, P. (1994). Behavior of science teaching. Thai Wattana Panich Printing House. [in Thai]

Lintattanasirikul, K. (2018). Measuring cognitive knowledge. Research in curriculum and instruction (Unit 9, Pages 9-46 - 9-67). Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Panich, W. (2013). Ways to create learning for students. (3rd edition). Printing Department, Tathata Publication Company. [in Thai]

Piaget. J. (1952). The Original of intelligence in Children. Trans, by Marget Cook. International Universitie Press.

Piriyawat, K. (2011). A study of science learning achievement and scientific problem-solving ability of grade 7 students who received problem-based learning management and manage learning using meta-cognition strategies to solve science problems. Master's thesis, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Ritjarun, P. (2009). Principles of measurement and evaluation. 5th Edition. House of Kermyst. [in Thai]

Ruechaipanich, W. (2015). Creativity-based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations, 1(2), 23-37. [in Thai]

Srisaard, B. (2011). Preliminary research. Revised edition. (9th edition). Suriwiyasan Printing. [in Thai]

Srisutham, W. (2019). The development of creativity-based learning management as a base to promote creative problem solving and academic achievement of students in grade 10. Maha Sarakham Rajabhat University. [in Thai]

Tuikhiao, V. (2017). Operational research for developing creative problem solving competencies of grade 10 students with creative-based learning management on chemical reactions. Master of Education Degree, Naresuan University. [in Thai]

Waenphet, W. & Suwanchinda, D. & Chaokiratipong, N. (2019). Effects of problem-based science learning management on academic achievement and ability to solve scientific problems of grade 8 students in extra large schools in Nakhon Pathom province. Journal of Education Studies. Kasetsart University, 35(2), 66-77. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31